ลักษณะนาม
หลายคนอาจจะเคยเข้าใจผิดและงงกับลักษณะนามของการเรียกสิ่งต่างๆ เรียกว่าอย่างไรกันแน่ วันนี้มาดูกันว่าคำนามเหล่านี้จะมีลักษณะนามเรียกว่าอย่างไร
การใช้ลักษณะนาม
การใช้ลักษณะนามที่ควรรู้ ได้แก่
- ขิง เรียกเป็น แง่งหรือ หัว
- เข็ม เรียกเป็น เล่ม
- เข็มกลัด (เครื่องประดับ) เรียกเป็น อัน
- เข็มกลัดซ่อนปลาย,เข็มหมุด เรียกเป็น ตัว
- เข็มขัด เรียกเป็น เส้นหรือสาย
- แขนทุกข์ เรียกเป็น ปลอก
- เจดีย์ เรียกเป็น องค์
- ฉัตร เรียกเป็น คัน
- ช้างบ้าน เรียกเป็น เชือก
- ช้างป่า เรียกเป็น ตัว
- ช้างขึ้นระวาง (เข้าประจำการ) เรียกเป็น ช้าง
- ฎีกา (ใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง) เรียกเป็น ฎีกา
- ถ้าเป็นฎีกา ใบบอกบุญ เรียกเป็น ใบ
- ฎีกา ที่เป็นหนังสือเขียนนิมนต์พระสงฆ์ เรียกเป็น ฉบับ
- ตาลปัตร เรียกเป็น เล่ม
- ตำหนัก เรียกเป็น หลัง
- ตำหนิ เรียกเป็น แห่ง
- เทพเจ้า , เทพารักษ์ ,เทวดา ,นางฟ้า เรียกเป็น องค์
- เทศน์ ,เทศนา เรียกเป็น กัณฑ์
- เทียนพรรษา เรียกเป็น ต้น
- พระสงฆ์ เรียกเป็น รูปหรือองค์
- นรก เรียกเป็น ขุม
- นักบวช, นักบุญ,บาทหลวง,นักพรต เรียกเป็น รูป
- นักสิทธิ์ ,พิทยาธร ,แม่ซื้อ, อสุรกาย,นางไม้ เรียกเป็น ตน
- นอ (สิ่งที่งอกขึ้น เหนือจมูกแรด) เรียกเป็น นอ
- นาค เรียกเป็น ตัว
- บายศรี เรียกเป็น สำรับ, บายศรีต้นเรียกเป็น ต้น, บายศรีปากชาม เรียกเป็น ชุด หรือสำรับ
- ปี่ เรียกเป็น เลา
- ปรางค์,ปราสาท เรียกเป็น องค์
- สังข์ (หอยสังข์) เรียกเป็น ขอน
- สังฆาฏิ เรียกเป็น ผืน
- สังวาล เรียกเป็น สาย
- สามเณร ,สามเณรี เรียกเป็น รูป
- สงฆ์ (ภิกษุ 4 รูปเฉพาะสวดอภิธรรม ) เรียกเป็น สำรับ
- สงฆ์ (คณะของภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป) เรียกเป็น คณะหรือหมู่
คำในภาษาไทยมีทั้งที่เข้าใจง่ายและเข้าใจยากถ้าเราศึกษาและมั่นใช้บ่อยๆ จะทำให้เรื่องที่คิดว่ายากนั้นดูง่ายลงทันที