กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้ | หมวดบุคคล |
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย | หมวดบุคคล |
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด | หมวดบุคคล |
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์ | หมวดบุคคล |
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น | หมวดบุคคล |
ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ | หมวดบุคคล |
คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า | หมวดบุคคล |
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ | หมวดบุคคล |
คนฉลาด ย่อมละบาป | หมวดบุคคล |
คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง | หมวดบุคคล |
คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น | หมวดบุคคล |
คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี | หมวดบุคคล |
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก | หมวดบุคคล |
คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป | หมวดบุคคล |
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น | หมวดบุคคล |
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย | หมวดบุคคล |
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ | หมวดบุคคล |
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข | หมวดบุคคล |
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน | หมวดบุคคล |
คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก | หมวดบุคคล |
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น | หมวดบุคคล |
คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า | หมวดบุคคล |
คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก | หมวดบุคคล |
คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก | หมวดบุคคล |
คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน | หมวดบุคคล |
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น | หมวดบุคคล |
คนแข็งกระด้างก็มีเวร | หมวดบุคคล |
คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ | หมวดบุคคล |
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ | หมวดบุคคล |
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง | หมวดบุคคล |
คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก | หมวดบุคคล |
คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์ | หมวดบุคคล |
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก | หมวดบุคคล |
คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น | หมวดบุคคล |
คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี | หมวดบุคคล |
ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น | หมวดบุคคล |
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง | หมวดบุคคล |
ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น | หมวดบุคคล |
ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้ | หมวดบุคคล |
ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย | หมวดบุคคล |
ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้ | หมวดบุคคล |
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง | หมวดบุคคล |
ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา | หมวดบุคคล |
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย | หมวดบุคคล |
ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ | หมวดบุคคล |
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล | หมวดบุคคล |
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น | หมวดบุคคล |
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ | หมวดบุคคล |
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข | หมวดบุคคล |
ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด | หมวดบุคคล |
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ | หมวดบุคคล |
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่ | หมวดบุคคล |
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ | หมวดบุคคล |
นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด | หมวดบุคคล |
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ | หมวดบุคคล |
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ | หมวดบุคคล |
บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย | หมวดบุคคล |
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี | หมวดบุคคล |
บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ | หมวดบุคคล |
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด | หมวดบุคคล |
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ | หมวดบุคคล |
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี | หมวดบุคคล |
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง | หมวดบุคคล |
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง | หมวดบุคคล |
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ | หมวดบุคคล |
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ | หมวดบุคคล |
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง | หมวดบุคคล |
บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น | หมวดบุคคล |
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเคือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และไม่ติดในรสทั้งหลาย | หมวดบุคคล |
บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น | หมวดบุคคล |
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด | หมวดบุคคล |
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ | หมวดบุคคล |
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์ | หมวดบุคคล |
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน | หมวดบุคคล |
บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย | หมวดบุคคล |
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน | หมวดบุคคล |
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต | หมวดบุคคล |
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก | หมวดบุคคล |
ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้ | หมวดบุคคล |
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ | หมวดบุคคล |
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข | หมวดบุคคล |
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ | หมวดบุคคล |