อักษรย่อ คืออะไร

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับอักษรย่อกันถึงความหมาย ที่มาที่ไป และตัวอย่าง โดยได้รวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้ แต่ก่อนอื่นรู้หรือไม่ว่ามีชื่อเรียกของอักษรย่ออีกอย่างว่า รัสพจน์ อยากรู้แล้วใช่มั้ยหล่ะ ไปดูกันเลย

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับอักษรย่อกันถึงความหมาย ที่มาที่ไป และตัวอย่าง โดยได้รวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้ แต่ก่อนอื่นรู้หรือไม่ว่ามีชื่อเรียกของอักษรย่ออีกอย่างว่า รัสพจน์ อยากรู้แล้วใช่มั้ยหล่ะ ไปดูกันเลย

 

รัสพจน์ แปลว่า อักษรย่อ

 

ความหมายของอักษรย่อ

อักษรย่อ หรือ คำย่อ หรือ รัสพจน์ เป็นการนำอักษรบางตัวในคำหนึ่ง ๆ ใช้เรียกแทนคำเต็ม โดยมากจะเป็นพยัญชนะ อาจใส่จุดหรือไม่ใส่จุดด้านหลังอักษรนั้น ๆ นิยมนำอักษรต้นพยางค์ แต่บางครั้งก็มีการใช้อักษรท้ายพยางค์ก็มี และบางครั้งอักษรย่อก็สามารถอ่านได้เป็นพยางค์ใหม่ หรือจะพบเห็นในอีกลักษณะหนึ่งแบบไม่เป็นทางการ คือ ลักษณะของข้อความที่ใช้ในการแชต มักเป็นแบบสั้น ๆ คำที่ใช้มักจะเป็นคำย่อหรือไม่มีรูปไวยากรณ์ที่ดีนัก

คำสั้นๆ ที่ใช้แทนคำเต็ม

 

อักษรย่อมีลักษณะอย่างไร

ในภาษาไทย เมื่ออักษรย่อมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะใส่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว (ไม่ใส่ทีละอักษร) ยกเว้นบางตัวที่เคยมีใช้กันมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น น.ส. ร.ร. พ.ศ. เป็นต้น ส่วนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้อักษรละติน ส่วนใหญ่จะไม่มีจุด  

 

ที่มาที่ไปของอักษรย่อ ตัวย่อ คำย่อและคำสั้น….

อักษรย่อ ตัวย่อ คำย่อ คำสั้น นั้นได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย อันเนื่องมาจากความที่อักษรย่อนั้นสั้นกว่า กระชับกว่าและจำได้ง่ายกว่าคำเต็ม ซึ่งมักจะยาวเฟื้อยเป็นกิโล ยากต่อการจดจำ โดยที่ตัวย่อนั้นนิยมนำมาใช้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจุบันมีอักษรย่อที่นิยมใช้กันหลายร้อยหลายพันคำ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

แนวทางการย่อคำ

คำย่อที่เกิดจากการนำเอาอักษรย่อของชื่อเฉพาะหรือวลีมารวมกัน ส่วนประกอบของคำย่อเหล่านี้อาจเป็นอักษรแต่ละตัวหรือเป็นส่วนหนึ่งของคำ

คำย่อบางคำสามารถอ่านได้ เช่น IFLA มาจากอักษรย่อชื่อของ International Federation of Library Association ในภาษาอังกฤษ

คำย่อเหล่านี้นี้มีประวัติการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันมีคำย่อต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้มาจากชื่อของหน่วยงาน องค์การ สถาบัน โครงการ เป็นต้น และมีการใช้คำย่อเหล่านี้อย่างแพร่หลาย

นอกจากนั้นยังมีการจัดทำพจนานุกรมคำย่อด้วย การเขียนคำย่ออาจใส่จุดหรือไม่ใส่จุดหลังอักษรนั้นๆ โดยนิยมนำเอาอักษรต้นพยางค์ หรือสองสามตัวแรก

แต่บางครั้งก็ใช้อักษรท้ายพยางค์ ในภาษาไทย เมื่ออักษรย่อมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะใส่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว (ไม่ใส่ทีละอักษร) เช่น อบต. ยกเว้นบางตัวที่เคยมีใช้กันมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น น.ส. ร.ร. พ.ศ. เป็นต้น

ในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้อักษรลาติน ส่วนใหญ่จะไม่มีจุด เช่น APEC, ASEAN, UNESCO เป็นต้น


เพื่อน ๆ ได้เห็นละว่าอักษรย่อ นอกจากจะเรียกว่า คำย่อ หรือตัวย่อ หรือคำสั้นแล้วเนี่ยยังสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า รัสพจน์ นอกจากบทความนี้แล้ว ถ้าเพื่อนอยากหาคำย่ออื่น ๆ เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปค้นหาได้ที่

 

 


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับอักษรย่อ

รวมอักษรย่อ คำย่อ ชื่อย่อ ในภาษาไทย ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวันประเทศไทยของเรามีตัวย่อ คำย่อ อักษรย่อ ชื่อย่อ และคำสั้น ๆ เยอะมาก เช่น ส.ส. = สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รพ. = โรงพยาบาล ททท. = การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
จำนวนผู้ให้คะแนน: 1   คะแนนเฉลี่ย: 5.0
 แสดงความคิดเห็น