สำนวนไทย หมวด ก-ฮ
สํานวนไทย คืออะไร?
สํานวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ จะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก
เมนูแนะนำ
- สำนวนไทย อธิบาย พร้อมตัวอย่าง
- รวมหมวดหมู่สำนวนไทย
- รวมสำนวนไทย ที่ใช้บ่อย 100 คำ
- รวมสำนวนไทย ที่ใช้บ่อย 200 คำ
สำนวนไทย หมวด ก
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
1 | กบเลือกนาย | ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ |
2 | กบในกะลาครอบ | ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก |
3 | กรวดน้ำคว่ำกะลา | ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย |
4 | กรวดน้ำคว่ำขัน | การตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย เลิกไม่คบหาสมาคมกันต่อไป |
5 | กระจอกงอกง่อย | ยากจนเข็ญใจ |
6 | กระจัดพลัดพราย | แตกฉานซ่านเซ็นไป ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน |
7 | กระชังหน้าใหญ่ | จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง เช่น แม่กระชังหน้าใหญ่ |
8 | กระดังงาลนไฟ | หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน |
9 | กระดี่ได้น้ำ | ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น |
10 | กระดูกสันหลังของชาติ | คำนี้คือคำเปรียบความสำคัญของชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ ผู้ผลิตอาหาร ปัจจัยหลักของประเทศและของโลกใบนี้ |
11 | กระดูกแข็ง | ไม่ตายง่าย ๆ |
12 | กระต่ายขาเดียว | การยืนกรานไม่ยอมรับผิด ปากแข็งยืนยันคำพูดเดิม |
13 | กระต่ายสามขา | ยืนกรานไม่ยอมรับ |
14 | กระต่ายหมายจันทร์ | การที่ผู้ชายฐานะยากจนกว่าฝ่ายหญิงแต่ไปหลงรักหมายปองชอบผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า โอกาสที่จะสมหวังได้นั้นคงค่อนข้างยากเพราะพ่อแม่ของฝ่ายหญิงคงไม่ชอบและคงต้องคอยกีดกัน เปรียบเทียบผู้ชายเป็นเหมือนกระต่ายที่เฝ้ามองดวงจันทร์ที่ลอยสูงเด่นอยู่เหนือท้องฟ้าในยามค่ำคืน ทำอย่างไรก็ไม่มีทางและโอกาสที่จะไปสัมผัสกับดวงจันทร์ได้ |
15 | กระต่ายแหย่เสือ | การไปล้อเล่น ท้าทายกับผู้ที่มีอำนาจ บารมีมากกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ |
16 | กระสือตอมห่า | ใช้เรียกคนหรือกลุ่มคนที่รุมมาหาผลประโยชน์อะไรซักอย่าง |
17 | กระเชอก้นรั่ว | สุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ ขาดการประหยัด |
18 | กระเทือนซาง | กระทบความรู้สึก มักใช้ในความปฏิเสธ |
19 | กระแตวับ | หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ |
20 | กระโถนท้องพระโรง | กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลาลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้ |
21 | กลมเป็นลูกมะนาว | ลักษณะของคนที่หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี) ความหายเดียวกับ กลมเป็นลูกบิลเลียด |
22 | กลับหน้ามือเป็นหลังมือ | เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม |
23 | กลับเนื้อกลับตัว | เลิกทําความชั่วหันมาทําความดี |
24 | กลืนไม่เข้าคายไม่ออก | การกระทำที่ตัดสินใจไม่ถูก ตัดสินใจได้ยากว่าจะเลือกทางไหน เนื่องจากทั้งสองทาง ก็ส่งผลกระทบด้านลบทั้งสองทางเลือก เปรียบเปรยถึง มีก้างปลาติดอยู่ในคอซึ่งกลืนก็ไม่เข้าท้อง คายก็ไม่สามารถทำได้ง่าย |
25 | กล้านักมักบิ่น | คนที่มีความกล้ามากเกินไป หรือทำตัวอวดฉลาดอาจจะต้องพบเจอกับอันตราย |
26 | กวนน้ำให้ขุ่น | ทำให้เรื่องราวที่สงบเรียบร้อยไร้ปัญหา กลับมาเป็น วุ่นวาย ยุ่งเหยิงไม่สงบ ไม่เรียบร้อย |
27 | กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ | ลักษณะของการทำงานที่มีความรีรอลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว แต่กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป |
28 | กอดแข้งกอดขา | เคล้าแข้งเคล้าขา, ประจบประแจง, กอดมือกอดตีน, สอพลอ |
29 | กะลา | ไม่มีค่า |
30 | กัดก้อนเกลือกิน | คนที่ยอมลำบากไปด้วยกัน ทนทุกข์ยาก เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน |
31 | กันท่า | กีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ |
32 | กาคาบพริก | ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง |
33 | กาฝาก | แฝงอยู่กับคนอื่นโดยไม่ทำประโยชน์ให้ |
34 | กาหลงรัง | ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง |
35 | กำปั้นทุบดิน | การพูดแบบกว้าง ๆ อาจจะตรงประเด็นหรือไม่ตรง เป็นการตอบที่ไม่ใช่คำตอบที่ผิด แต่เป็นการตอบที่ไม่ได้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง |
36 | กำลังกินกำลังนอน | อยู่ในวัยกินวัยนอน เช่น เด็กกําลังกินกําลังนอน |
37 | กินของเก่า | การเสวยสุข ผลประโยชน์จาก บุญเก่าโดยไม่ เสาะแสวงหา ลู่ทางใหม่ ๆ อาศัยกินของเก่า |
38 | กินขันหมาก | ได้แต่งงานอย่างมีหน้ามีตา สมศักดิ์ศรี |
39 | กินขาด | ดีกว่ามาก เหนือกว่ามาก ชนะเด็ดขาด |
40 | กินข้าวต้มกระโจมกลาง | ทำอะไรด้วยความใจร้อนไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน |
41 | กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย | อยู่อย่างสะดวกสบายไม่ลำบาก อยู่ไปเฉย ๆ นอนตื่นสายไม่ทำอะไรก็มีอยู่มีกินมีใช้ เปรียบคนที่มีข้าวร้อน ๆ กินทุกวัน คนที่นอนตื่นสายได้ทุกวัน อะไรมันจะสบายแบบนี้ไม่มีแล้ว |
42 | กินดิบ | ชนะโดยง่ายดาย |
43 | กินนอกกินใน | เอากําไรในการซื้อขาย ทั้งในราคาและนอกราคาที่กําหนด |
44 | กินน้ำตาต่างข้าว | ร้องไห้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน |
45 | กินน้ำพริกก้นถ้วย | จำเจ จืดชืด ขาดความแปลกใหม่ แลดูน่าเบื่อ |
46 | กินน้ำใต้ศอก | จําต้องยอมเป็นรองเขา ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง) |
47 | กินบนเรือนขี้บนหลังคา | คนเนรคุณ ไม่รู้จักบุญคุณคน เหมือนผู้ที่อาศัยพักพิงบ้านเขา แต่กลับทำเรื่องเดือดร้อน สร้างความเสียหาย ให้กับเจ้าของบ้าน |
48 | กินบุญเก่า | ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า) |
49 | กินบ้านกินเมือง | ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง |
50 | กินปูนร้อนท้อง | เปรียบเหมือนคนเมื่อทำความผิดแล้วเกรงว่าคนอื่นจะจับความผิดของตนได้ อันที่จริง เฉยไว้ก็ไม่มีใครรู้แต่กลับแสดงอาการพิรุธออกมาให้เห็นก่อนที่คนอื่นจะรู้ |
51 | กินรังแตน | มีอารมณ์เสียหงุดหงิดบ่นว่าเกินกว่าเหตุ |
52 | กินล้างกินผลาญ | กินครึ่งทิ้งครึ่ง กินทิ้งกินขว้าง กินอย่างสุรุ่ยสุร่าย |
53 | กินเกลือกินกะปิ | อดทนต่อความลำบากยากแค้น |
54 | กินเศษกินเลย | กินกําไร ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจํานวนเล็กน้อยไว้ ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตนเอาเพียงบางส่วนไว้เป็นของตน |
55 | กินเส้น | ชอบกัน เข้ากันได้ มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเส้นกัน |
56 | กินแกงร้อน | ทำอะไรจวนตัว มาถึงตัวแล้วเพิ่งจะเริ่มทำ จนทำให้ลนลาน |
57 | กิ่งทองใบหยก | เปรียบเทียบของสองสิ่งที่ดูดี มีคุณค่าเสมอกัน เหมาะสมกัน |
58 | กิ้งก่าได้ทอง | คนที่ได้ลาภยศแล้วทะนงตนลืมฐานะเดิม |
59 | กู่ไม่กลับ | ไม่ฟังคําทัดทาน ห้ามไม่อยู่ |
60 | ก่อกรรมทำเข็ญ | ก่อความเดือดร้อนร่ำไป |
61 | ก่อร่างสร้างตัว | ตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักฐาน |
62 | ก้มหน้า ก้มตา | ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจำใจ |
63 | เกลือจิ้มเกลือ | ไม่ยอมเสียเปรียบกัน แก้เผ็ดให้สาสมกัน |
64 | เกลือเป็นหนอน | ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ |
65 | เกี่ยวแฝกมุงป่า | ทำอะไรเกินความสามารถของตัวเอง ทำในสิ่งที่มีโอกาสสำเร็จได้ยาก |
66 | เก็บดอกไม้ร่วมต้น | เคยทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงทำให้ได้มาเกื้อกูลอยู่ร่วมกันอีกในปัจจุบัน |
67 | เก็บเล็กผสมน้อย | เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย |
68 | แกงจืดรู้คุณเกลือ | จะรู้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองข้าม ไม่สนใจ ก็ต่อเมื่อไม่มีของสิ่งนั้นแล้ว |
69 | แกว่งเท้าหาเสี้ยน | คนที่ชอบรนหาที่ หาเรื่องใส่ตัว ไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นโดยไม่จำเป็น จนตัวเองได้รับความเดือดร้อน |
70 | แกะดำ | คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี) |
71 | แก่มะพร้าวห้าว | คนแก่แต่ยังแข็งแรงอยู่ สุขภาพดี |
72 | แก้วลืมคอน | คนที่รักกันแล้วแต่ยังไปหลงรักคนอื่น |
73 | ไกลปืนเที่ยง | การห่างไกลความเจริญ สมัยก่อนยังไม่มีเครื่องบอกเวลา แต่จะมีการยิงปืนใหญ่เป็นการบอกเวลาแทน ไกลปืนเที่ยงจึงหมายความว่า อยู่ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงสัญญาณปืนที่บอกเวลานั่นเอง |
74 | ไก่รองบ่อน | ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสํารอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้ |
75 | ไก่หลง | ผู้หญิงเสแสร้งแอ๊บแบ๊ว ทำตัวเป็นคนดีผู้ดี มาเที่ยวตีสนิทผู้ชายเพื่อคอยหลอกลวง |
76 | ไก่อ่อน | ผู้มีประสบการณ์น้อยยังไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน |
77 | ไก่แก่แม่ปลาช่อน | หญิงที่ค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมากและมีกิริยาจัดจ้าน โบราณท่านจึงเปรียบเทียบเอาไว้เหมือนไก่แก่หรือแม่ปลาช่อน ซึ่งผ่านโลกมามาก |
78 | ไก่โห่ | เวลารุ่งสาง ก่อนเวลา เช่นพูดว่า มาตั้งแต่ไก่โห่ |
79 | ไก่ได้พลอย | การที่ได้ของมีค่ามาแต่ไม้รู้คุณค่าของสิ่งนั้น |
สำนวนไทย หมวด ข
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
80 | ขนทรายเข้าวัด | ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม |
81 | ขนมพอสมกับน้ำยา | ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า, ความดีความร้าย, ความสามารถ นั้นพอ ๆ กัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน |
82 | ขนหน้าแข้งไม่ร่วง | ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจํานวนเล็ก ๆ น้อย ๆ) |
83 | ขมิ้นกับปูน | ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน ไม่ถูกกัน |
84 | ขมเป็นยา | คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา |
85 | ขวานฝ่าซาก | ผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด) |
86 | ขี่ช้างจับตั๊กแตน | การทำอะไรที่มากเกินตัว |
87 | เข้าหูซ้ายทะลุหูขาว | บอกหรือสอนไปไม่ได้ผลไม่ได้ความ ไม่สนใจอะไร ไม่ฟังในสิ่งที่สอนสั่ง |
88 | เข้าเนื้อ | ขาดทุน เสียทรัพย์ไป เสียหาย เสียเปรียบ เช่น พูดให้เข้าเนื้อ |
89 | ไข่ในหิน | ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมและหวงอย่างยิ่ง ไม่ยอมให้ไครมาทำอันตรายเด็ดขาดหรือเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยง่าย |
สำนวนไทย หมวด ค
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
90 | คงเส้นคงวา | เสมอต้นเสมอปลาย |
91 | คนละไม้คนละมือ | ต่างคนต่างช่วยกันทำ ทำด้วยความสามัคคีกัน อย่างตั้งใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันทำงานเพื่อผลสำเร็จ |
92 | คมในฝัก | มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดง ออกมาให้ปรากฏ |
93 | คลื่นกระทบฝั่ง | เรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่ค่อนข้างใหญ่โตแต่กลับเงียบหายไป |
94 | คลื่นใต้น้ำ | เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อยหรือพวกคลื่นใต้น้ำชอบก่อหวอดก่อเหตุการณ์วุ่นวาย ภายในคอยแซะอย่างลับหลัง |
95 | คลุกคลีตีโมง | มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง |
96 | คลุมถุงชน | ลักษณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มักใช้แก่ประเพณีแต่งงานสมัยก่อนที่พ่อแม่เป็นผู้จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้จักหรือรักกันมาก่อนเหมือนแกมบังคับให้โดนจับคู่กัน |
97 | ควันหลง | เรื่องราวตามมาหรือเบื้องลึกเบื้องหลังที่มีหลุดออกออกมา หรือสิ่งที่ตามมาเป็นกระแสยังไม่จบซะทีเดียว จากเรื่องที่พึ่งเกิดยังไม่หมดสิ้นกลับปรากฏขึ้นอีก หรือผลพวงที่ตามมาจากเรื่องเหล่านั้น |
98 | คว่ำบาตร | ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย |
99 | คว้าน้ำเหลว | การที่ลงมือทำอะไรแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ |
100 | คอขาดบาดตาย | ร้ายแรงถึงอาจต้องสูญเสียชีวิตได้ เกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นอันตรายอาจถึงกับเสียชีวิตหรือเป็นเรื่องใหญ่มาก |
101 | คอทองแดง | ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ |
102 | คอเป็นเอ็น | ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ ไม่อ่อนข้อ |
103 | คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก | ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้ |
104 | คางคกขึ้นวอ | คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น |
105 | คางเหลือง | ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต อาการหนักถึงหนักมาก |
106 | คาบเส้นยาแดง | ทำงานเสร็จทันเวลาแต่ด้วยความกระทันหัน เฉียดฉิวเกือบจะไม่ทันรอดตัวได้หวุดหวิด |
107 | เค็มเป็นเกลือ | ขี้งก ตระหนี่ ขี้เหนียวสุด ๆ เหมือนเกลือที่เค็มสุด ๆ |
108 | โคแก่กินหญ้าอ่อน | ชายอายุเยอะ ที่มีภรรยามีอายุอ่อนคราวลูกคราวหลาน |
109 | โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก | การกำจัดศัตรูนั้น ต้องกำจัดให้หมดสิ้นไปจริง ๆ ไม่ให้เหลือผู้สืบทอดหรือผู้ที่จะกลับมาเป็นศัตรูได้อีก ใช้กับการฆ่าและกับการหน้าที่การงาน |
สำนวนไทย หมวด ฆ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
110 | ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก | การทำงานใหญ่ อย่าตระหนี่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย ไม่เช่นนั้นอาจเสียการใหญ่ได้ |
111 | ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด | ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด) |
112 | ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง | ผู้ที่มีคุณความดีในตัวนั้นถ้าไม่มีใครยกย่องชมเชยก็จะไม่มีใครเห็นความดีนั้น |
113 | ฆ้องปากแตก | คนที่เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนำความลับหรือเรื่องไม่ดีของผู้อื่นไปโพนทะนา ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน |
สำนวนไทย หมวด ง
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
114 | งงเป็นไก่ตาแตก | งงมากจนทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะทำยังไง |
115 | งอมพระราม | มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง เช่น เจ้าของโครงการคอนโดนี้วางแผนสร้างคอนโดที่ทันสมัยที่สุด หรูที่สุด ซึ่งใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้หมุนเงินไม่ทันสุดท้ายผู้รับเหมาแต่ละรายก็เลยงอมพระรามไปตาม ๆ กัน |
116 | งอมืองอตีน | คนที่เกียจคร้าน วัน ๆ ไม่ทำอะไร ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน |
117 | งูกินหาง | พัวพันเกี่ยวโยงกันไปเป็นทอด ๆ จนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ |
118 | งูจงอางหวงไข่ | รักหวง ปกป้องลูกของตัวเองถึงที่สุด ไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้ง่าย ๆ |
119 | งูถูกตีขนดหาง | ถูกทำในจุดสำคัญทำให้รู้สึกเจ็บปวด และแค้นเคืองมาก |
120 | งูๆปลาๆ | รู้นิด ๆ หน่อย ๆ |
121 | เงยหน้าอ้าปาก | การมีฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดูแลตัวเองได้ไม่เดือดร้อน มีฐานะที่พอทัดเทียมกับเพื่อนได้ |
122 | เงาตามตัว | ไปด้วยกันเสมอ |
123 | โง่เง้าเต่าตุ่น | คนที่โง่มาก ๆ |
124 | โง่แกมหยิ่ง | โง่แล้วยังอวดฉลาด อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่ |
สำนวนไทย หมวด จ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
125 | จมูกมด | รู้ทันเหตุการณ์ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจมูกมด มักจะรู้เรื่องราวทุกอย่างในหมู่บ้านตลอดเวลา รู้อะไรไปหมด รู้ก่อนคนอื่นตลอด |
126 | จมไม่ลง | บุคคลที่เคยมีฐานะร่ำรวยหรือมีชื่อเสียงมาก่อน แต่ปัจจุบันยากจนหรือไม่มีชื่อเสียงอีกแล้ว แต่ยังประพฤติตนเหมือนกับตอนที่ยังมีฐานะหรือชื่อเสียงดีเหมือนแต่ก่อน |
127 | จรกาหน้าหนู | คนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ |
128 | จระเข้ขวางคลอง | คนที่ชอบอะไรขัดขวางผู้อื่น คอยกีดกันไม่ให้ผู้อื่นกระทำการได้อย่างสะดวก |
129 | จองหองพองขน | เย่อหยิ่ง อวดดี ทะนงตน หรือไม่รู้จักบุญคุณด้วยการแสดงอาการลบหลู่ผู้มีพระคุณ |
130 | จับปลาสองมือ | การที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น |
131 | จับปูใส่กระด้ง | การที่คน ๆ หนึ่งพยายามดูแลเด็กเล็ก ๆ โดยพยายามให้อยู่นิ่ง ๆ หรือเป็นระเบียบ แต่เด็กก็ซุกซนไม่อยู่นิ่ง |
132 | จับแพะชนแกะ | การทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก |
133 | จับให้มั่นคั้นให้ตาย | การจะจับผิดหรือเอาผิดกับใครต้องมีหลักฐานแน่ชัด |
134 | จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน | ตามไม่ทัน จับไม่ทัน ดักทางดักความคิดไม่ถูก |
135 | จืดเหมือนไชยเชษฐ์ | ได้ยินได้ฟังมาบ่อย ๆ |
136 | จุดไต้ตำตอ | พูด/ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเอาเจ้าของเรื่องเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างไม่รู้ตัว |
137 | จูงช้างลอดรูเข็ม | กระทำในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หรือแทบจะทำไม่ได้เลย เหมือนอย่างเช่น จะจูงช้างรอดรูเข็มได้อย่างไร |
138 | เจ้าชู้ประตูดิน | ผู้ชายที่เที่ยวจีบผู้หญิงไม่เลือกหน้า |
139 | แจงสี่เบี้ย | การพูดชี้แจงหรืออธิบายอย่างละเอียดถี่ถ้วน |
140 | ใจดีสู้เสือ | การทำใจกล้า ควบคุมจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หวั่นไหวไปกับเหตุการณ์ตรงหน้า เมื่อต้องเจอกับสิ่งที่น่ากลัวหรือเป็นอันตราย |
สำนวนไทย หมวด ฉ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
141 | ฉลาดแกมโกง | ฉลาดในทางทุจริต |
142 | ฉ้อราษฎร์บังหลวง | ทุจริตในหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบ |
สำนวนไทย หมวด ช
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
143 | ชนักติดหลัง | คนที่เคยทำความชั่วหรือความผิด แล้วสิ่งเหล่านั้นยังคงติดตัวอยู่ เหมือนเป็นตราบาป |
144 | ชักแม่น้ำทั้งห้า | การพูดจาหว่านล้อม หาเหตุผลต่างๆมาอ้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้ในสิ่งที่ต้องการ |
145 | ชักใบให้เรือเสีย | การพูดหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ การสนทนาหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ต้องเขว ออกนอกเรื่อง นอกประเด็นไป |
146 | ชักใย | บงการอยู่เบื้องหลัง |
147 | ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน | ในช่วงชีวิตของคนเราไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอน มีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งดีและร้าย สลับกันไป |
148 | ชาติเสือจับเนื้อกินเอง | คนที่เชื่อมั่นและถือศักดิ์ศรีของตน แม้จะลำบากยากแค้นก็ไม่ยอมรบกวนและเบียดเบียนใคร หรือการทำมาหากินด้วยความอุตสาหะไม่เบียดเบียนผู้อื่น |
149 | ชาติเสือไม่ทิ้งลาย | เป็นผู้ชายต้องมีความเก่งกล้าสามารถ มีความองอาจแข็งแรง ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง |
150 | ชายหาบหญิงคอน | สามีภรรยาต่างช่วยกันทำมาหากิน |
151 | ชี้โพรงให้กระรอก | ผู้ที่ชอบทำอะไรก็ตามเป็นนิสัยเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาบอกกล่าวก็จะลงมือทำทันที เช่น เป็นคนชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยวก็จะไป หรือผู้มีนิสัยเป็นคนขี้ลักขี้ขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าไปขโมยหรือลักทรัพย์ในบ้านนั้น เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้ |
152 | ชุบมือเปิบ | ฉวยโอกาส เอาสิ่งของคนอื่นทำจนสำเร็จแล้วมาเป็นประโยชน์ของตน โดยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอะไรมาก่อนเลย |
153 | ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก | สิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะรู้ตื้นหนาบางของเราเป็นอย่างดี |
154 | ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ | คนใหญ่คนโตขัดแย้งมีปัญหากัน หรือผู้นำของแต่ละฝ่ายนั้นมีปัญหาทะเลาะกัน แต่ส่งผลให้ผู้น้อยหรือประชาชน ลูกน้องนั้นได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน |
155 | ช้างเท้าหลัง | ภรรยา (อาจจะเป็นผู้ชายก็ได้ในปัจจุบัน) ผู้ตาม ผู้คอยหนุนหลัง สนับสนุนผู้นำของตัวเอง หรือสามี |
156 | ช้างเผือกเกิดในป่า | คนที่มีปัญญา เป็นคนดี มีความสามารถนั้นหาได้ยาก เหมือนกับช้างเผือกที่เกิดในป่านาน ๆ ครั้งถึงจะได้พบเจอ |
157 | เชือดไก่ให้ลิงดู | ทำโทษเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง |
158 | เชื้อไม่ทิ้งแถว | เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ |
159 | แช่งชักหักกระดูก | การแช่งด่าผู้อื่นด้วยความตั้งใจมุ่งร้าย เพื่อให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างร้ายแรง |
160 | ใช้แมวเฝ้าปลาย่าง | ฝากของไว้กับผู้ที่อยากได้ ของนั้นย่อมสูญหาย |
สำนวนไทย หมวด ซ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
161 | ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน | ความซื่อสัตย์ทำให้คนเชื่อใจ มีคนนับถือ ไม่มีวันอดตาย มีคนคอยช่วยเหลือ แต่หากมีนิสัยคดโกง เมื่อถูกจับได้ย่อมไม่มีใครอยากช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องด้วย |
162 | ซื่อเหมือนแมวนอนหวด | เชื่อง ไม่มีพิษมีภัย แต่ความจริงแล้วกลับซ่อนความร้ายกาจ ความเจ้าเล่ห์ เอาไว้ภายใน โดยโบราณท่านเปรียบไว้เหมือนแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ถึงเวลาที่ตื่นตัวกลับปราดเปรียวและมีพิษสงร้ายกาจ |
163 | ซื้อร่มหน้าฝน | ซื้อของโดยไม่วางแผนล่วงหน้ามัก ได้ราคาแพงเพราะของนั้นเป็นที่จำเป็นต้องใช้ ในตอนนั้น ทำให้มีโอกาศโดนกดราคา ไม่สามารถต่อรองได้มากนัก หรือราคาเกินจริง |
164 | ซุ่มซ่ามเหมือนจีนใหม่ | ทำอะไรมักผิด ๆ ถูก ๆ เพราะไม่เคยทำมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ ท่าทางไม่ทะมัดทแมง กิริยามารยาท ไม่สุภาพเรียบร้อย |
สำนวนไทย หมวด ฒ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
165 | เฒ่ามะละกอ | ยิ่งแก่ยิ่งไร้แก่นสาร เหมือนผลมะละกอที่ทั้งเละทั้งกลวง ลำต้นไม่มั่นคงโค่นล้มได้ง่าย เปรียบกับคนที่ไร้สาระ ไม่มีเป้าหมายไม่มั่นคง |
166 | เฒ่าหัวงู | คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีนิสัยเจ้าชู้ มีเล่ห์เหลี่ยม ชอบใช้กลอุบาย หลอกล่อเด็กสาวไปบำเรอความสุข ในทางกามารมณ์ |
สำนวนไทย หมวด ด
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
167 | ดอกทอง | หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคําด่า) |
168 | ดอกพิกุลร่วง | อาการนิ่งไม่พูด กลัวดอกพิกุลร่วง |
169 | ดอกไม้ริมทาง | ผู้หญิงใจง่ายที่ผู้ชายสามารถเกี้ยวพาราสีเอามาเชยชมได้ง่ายๆ ทำให้ไม่มีความสำคัญ |
170 | ดาบสองคม | การกระทำที่อาจเกิดผลดีและผลร้ายได้พอๆกัน เปรียบได้กับดาบ ถ้าดาบนั้นมีคมทั้งสองข้าง มันก็ดีใช้ฟันได้สะดวก ขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าดาบมีคมทั้งสองข้าง เมื่อเราใช้ดาบฟันไปข้างหนึ่ง คมอีกข้างหนึ่ง ก็อาจทำร้ายถูกตัวเราได้ |
171 | ดาวล้อมเดือน | คนที่มีบริวารอยู่รายล้อมเป็นจำนวนมาก เหมือนดวงดาวที่อยู่ล้อมดวงจันทร์ |
172 | ดินพอกหางหมู | นิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย |
173 | ดีดลูกคิดรางแก้ว | คิดรอบคอบแล้วมีแต่ได้อย่างเดียว |
174 | เด็กอมมือ | คนที่ไม่รู้ประสีประสา ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ไม่มีประสบการณ์ |
175 | เด็กเมื่อวานซืน | คนที่มีความรู้น้อยด้อยประสบการณ์ แต่ชอบอวดรู้ คุยโม้โอ้อวด |
176 | เด็ดดอกฟ้า | ผู้ชายที่หมายปองหญิงสาวที่สูงศักดิ์ มีฐานะดีกว่าตนเองมาก |
177 | โดดร่ม | หลบเลี่ยงงานหรือการเรียน |
178 | ได้น้ำได้เนื้อ | ได้อะไรที่เป็นประโยชน์ ได้อะไรที่ดี ๆ มีสาระ ครบถ้วน ใช้บอกในหลายเหตุการณ์ เช่น การฟัง การพูด การทำงาน ค้าขาย กำไร เป็นต้น |
179 | ได้หน้าลืมหลัง | หลง ๆ ลืม ๆ, ขี้หลงขี้ลืม |
สำนวนไทย หมวด ต
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
180 | ตกถังข้าวสาร | ชายที่ได้เมียรวย |
181 | ตกนรกทั้งเป็น | ได้รับความลำบากแสนสาหัส |
182 | ตกน้ำไม่ว่าย | ไม่ช่วยตัวเอง ประมาณว่าขนาดตกน้ำ แล้วยังไม่ดิ้นรนว่ายน้ำช่วยตัวเอง |
183 | ตกหลุมพราง | ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล กลลวง หลุมพราง |
184 | ตกเบ็ด | ล่อให้หลง |
185 | ตดไม่ทันหายเหม็น | เร็วมาก |
186 | ตบตา | หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด ทำการหลอกล่อให้เข้าใจผิด |
187 | ตบมือข้างเดียวไม่ดัง | ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล เหมือนตบมือข้างเดียว ตบอย่างไรก็ไม่ดัง |
188 | ตบหัวลูบหลัง | ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรก แล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง |
189 | ตลกบริโภค | ทำเนียน ทำตลกกลบเกลื่อน เพื่อผลประโยชน์หรือ ทำตัวเฮฮา ไปซะทุกเรื่อง |
190 | ตัดเชือก | ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป |
191 | ตัวใครตัวมัน | ต่างคนต่างเอาตัวรอด |
192 | ตาร้อน | เป็นอาการของคนที่มีความรู้สึกอิจฉาผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ ที่เหนือกว่าตน หรือเห็นคนอื่นได้ดี ใช้ในทางไม่ดีก็ได้แต่บางบริบทนั้นก็นิยมเอามาพูดเล่น ๆ แซวกัน ขำขำ ในวงคนรู้จักกันก็มีให้เห็นโดยทั่วไป |
193 | ตาสีตาสา | คนบ้านนอกไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยทันเล่ห์เหลี่ยมคนในเมือง |
194 | ตาเป็นนกแขวก | สอดส่อง สายตา มองไปมองมา ดูซ้ายดูขวา ดูไปทั่ว |
195 | ตาเป็นสับปะรด | คนที่หูตากว้างไกล ในที่นี้จะเน้นว่ามีพรรคพวกมาก ใครทำอะไร ที่ไหน จะรู้ไปหมด โดยรู้จากพรรคพวกเพื่อนฝูงหรือบริวารที่มีอยู่ทั่วไปเป็นคนส่งข่าวให้ โดยที่สำนวนตาเป็นสับปะรดนี้เกิดจากการเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ข่าวสาร เรื่องราว ของบุคคลกับตาของสับปะรดซึ่งมีอยู่รอบลูก |
196 | ตาไม่มีแวว | ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมาให้เลือกยังไม่ยอมเลือก |
197 | ติเรือทั้งโกลน | ตำหนิงานหรือของที่ทำ ทั้ง ๆ ที่งานนั้นเพิ่งเริ่มไปได้ไม่นานหรือทำไปได้เพียงเล็กน้อย |
198 | ตีนถีบปากกัด | มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก ใช้ความพยายามในการต่อสู้ดำเนินชีวิต |
199 | ตีนเท่าฝาหอย | เด็กทารก เด็กเล็ก หรือแรกเกิด |
200 | ตีปลาหน้าไซ | พูดหรือทำให้งานของผู้อื่นที่กำลังไปได้ดีกลับเสียไป |
201 | ตีหลายหน้า | ตลบตะแลง กลับกลอก |
202 | ตีหัวหมา ด่าแม่เจ็ก | ทำเก่ง, รังแกคนที่ไม่มีทางสู้, รังแกคนที่อ่อนแอกว่า, ทำร้ายคนที่ด้อยกว่า, ถูกรังแกเอาเปรียบจากคนที่เหนือกว่า |
203 | ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม | การจะทำอะไรให้รีบทำในช่วงจังหวะที่ยังเหมาะสมแก่วัยและเวลา |
204 | ต่อความยาว สาวความยืด | มากเรื่องมากราวโต้กันไปโต้กันมา ไม่รู้จักจบจักสิ้นพูดกันไปพูดกันมาจนไม่จบไม่สิ้นเสียที สนทนาเถียงกัน จนเรื่องราวไม่ได้จบลงเสียที |
205 | ต้นคดปลายตรง | คนชั่วที่กลับตัวเป็นคนดี |
206 | ต้นร้าย ปลายดี | ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสํานึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า ต้นร้าย แต่ ปลายดี |
207 | ต้มยำ ทำแกง | หลอกลวง โกหก ทำร้ายโดยไม่นึกถึงจิตใจใครคนอื่นเลยทำกันแบบไม่คิดถึงอกเขาอกเรา |
208 | เต่าใหญ่ไข่กลบ | คนที่ทำผิดแล้วพยายามกลบเกลื่อน |
209 | เต้นแร้งเต้นกา | แสดงอาการดีอกดีใจหรือสนุกสนาน ด้วยการกระโดดโลดเต้น |
สำนวนไทย หมวด ถ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
210 | ถวายหัว | ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตายสู้ตายถวายชีวิตให้ มอบชีวิตมอบความภักดีให้อย่างซื่อสัตย์ |
211 | ถอดเขี้ยวถอดเล็บ | ละพยศ, ละความเก่งกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไปลดความอันตรายความทะเยอทะยานลง |
212 | ถอนขนห่าน | การที่รัฐเรียกเก็บภาษีจากประชาชนในอัตราสูง ขูดรีดประชาชน รีดงบเก็บภาษี |
213 | ถอนหงอก | ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่ พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่ |
214 | ถีบหัวส่ง | ไล่ไปให้พ้น, ไม่ไยดีอีกต่อไป. |
215 | ถ่มน้ำลายรดฟ้า | ดูหมิ่นหรือคิดร้ายกับผู้ที่เป็นที่เคารพของคนทั่วไปหรือมีฐานะสูงกว่าตน อนาคตอันใกล้จะเกิดผลร้ายกับตน |
216 | ถ่านไฟเก่า | ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น |
217 | เถรตรง | ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา. |
218 | เถียงคำไม่ตกฟาก | เถียงได้ไม่หยุดปาก มักจะใช้กับเด็กที่เถียงผู้ใหญ่อยู่เสมอ |
สำนวนไทย หมวด ท
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
219 | ทองไม่รู้ร้อน | การกระทำที่เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือรู้สึกอย่างไร |
220 | ทำได้อย่างเป็ด | ทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่เป็นเลิศสักอย่าง |
221 | ทิ้งทวน | ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทําอีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวยโอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ. |
222 | ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย | การทิ้งทวน ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย |
223 | ทีใครทีมัน | โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น. |
224 | เทน้ำเทท่า | คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคํา ขาย เป็น ขายดีอย่างเทนํ้าเทท่า. |
225 | แทงใจดำ | พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง |
สำนวนไทย หมวด ธ
# | สำนวนไทย | หมายถึง |
---|---|---|
226 | ธุระไม่ใช่ | ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องคนอื่นที่ไม่ได้มีผลอะไรกับตัวเลยไม่ไปวุ่นวายกับกิจการงานของคนอื่นโดยที่ตัวเองไม่เกี่ยวข้อง |
ยังไม่หมด ไปต่อ สำนวนไทย หมวด น ได้ที่ สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2) ›
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลน่าสนใจ
สํานวนไทย คืออะไร?
สํานวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ จะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรง ๆ