สรรพคุณของกะเพรา รวมทุกส่วนของผักกะเพรา
หลังจากได้กล่าวถึงกะเพราหลายบทความมาแล้ว ในบทความนี้เราก็จะมาพูดถึงสรรพคุณของกะเพราที่มีมากกว่าการนำมาประกอบอาหาร เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงข้อดีของพืชผักสมุนไพรไทย
มาดูกันว่ากะเพรานั้นมีดีอย่างไรบ้าง
สรรพคุณของกะเพรา รวมทุกส่วนของผักกะเพรา
- ประโยชน์ของกะเพราใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
- ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
- กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตายขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
- รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
- ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดด้วย ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
- ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
- ใบกะเพราสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
- สรรพคุณกะเพราช่วยแก้ลมซานตาง (ใบ)
- น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
- ช่วยย่อยไขมัน (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
- กะเพรา สรรพคุณช่วยขับน้ำดี (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
- ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ (ใบ)
- สรรพคุณของกะเพราใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ใบ)
- ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะ อาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
- มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารสกัดจากกะเพรา)
- ใบกะเพรา มีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกะเพราะในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
- ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
- เมล็ดนำไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)
- ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08 – 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
- สรรพคุณของกะเพราใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัวๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราะที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด (ใบสด,กิ่งสด)
- น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ (น้ำมักสกัดจากใบสด)
- ประโยชน์ของกะเพรา ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราะสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่างๆก็ได้ ฯลฯ
- ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ (ใบ)
กะเพรา เขียนอย่างไร ?
ระหว่าง กะเพรา หรือ กระเพรา หรือ กะเพา ?
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นระบุว่าที่ถูกต้องก็คือว่า กะเพรา [-เพรา] ที่เป็นไม้ล้มลุกใช้ปรุงเป็นอาหาร ส่วนคำว่า “กะเพา” จะหมายถึงเครื่องสานชนิดหนึ่ง และคำว่า “กระเพรา” ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด สรุปก็คือ เขียนว่า “กะเพรา“
เห็นแล้วใช่ไหมครับว่ากะเพราที่เรากินกันอยู่แทบทุกวันนั้นนอกจากความอร่อยก็ยังมีประโยชน์อยู่มากมายด้วย บทความหน้ามาดูกันว่าจะมีบทความดีๆใดมาฝากโปรดติดตามครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลน่าสนใจ
กะเพราเขียนแบบไหนถูกต้อง?
คำว่า “กะเพรา” ที่ถูกต้องคือ "กะเพรา"