ที่มาของสำนวนไทย

วันนี้เราจะมาดูกันว่าสำนวนไทยนั้นมีที่มาจากอะไรกันได้บ้าง ซึ่งสำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประเภท ผมได้รวบรวมประเภทที่มาและตัวอย่างไว้ให้ในบทความนี้

วันนี้เราจะมาดูกันว่าสำนวนไทยนั้นมีที่มาจากอะไรกันได้บ้าง ซึ่งสำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประเภท

ทางทีมงานได้รวบรวมประเภทที่มาและตัวอย่างไว้ให้ในบทความนี้ ไปดูกันเลย

 

ที่มาของสำนวนไทย

มาที่ของสำนวนไทยต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นหลายลักษณะดังต่อไปนี้

 

1. มีที่มาจากธรรมชาติ

เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

กาฝาก

 ต้นไม้ที่เกาะเบียดเบียนอาศัยอาหารจากต้นใหญ่ เลี้ยงตัวแฝงกินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้

ก่อหวอด

 การวางไข่ของปลา  ปลาจะพ่นน้ำเป็นฟองเรียกว่า   หวอด  เพื่อให้ไข่ปลาอาศัยจน เป็นลูกปลาเริ่มจับกลุ่มเพื่อนทำการ อย่างใดอย่าง หนึ่ง
เข้าไต้เข้าไฟเวลาใกล้ค่ำต้องจุดไต้ ให้แสงสว่างเวลาพลบค่ำ
คลื่นกระทบฝั่ง

ทะเลมีคลื่นวิ่งเข้าหาฝั่งตลอดเวลา

เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นแล้วกลับเงียบ หายไป
คืบก็ทะเล  ศอกก็ทะเลแสดงถึงความน่ากลัวของทะเลสอนให้อย่าประมาทเพราะทะเล มีอันตรายทุกเมื่อ
ต้นไม้ตายเพราะลูกธรรมชาติของต้นไม้บางชนิดเมื่อออกผลแล้วจะตาย พ่อแม่ยอมเสียสละแม้ชีวิตเพื่อลูก
ติดร่างแหเวลาจับปลาด้วยแห ปลาน้อยใหญ่ก็จะติดแหมาด้วย พลอยรับเคราะห์ไปด้วย
ตื่นแต่ไก่โห่ธรรมชาติของไก่ย่อมขัน ในเวลาเช้ามืดเสมอ ตื่นแต่เช้ามืด
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำฟ้าอยู่สูงแผ่นดินอยู่ที่ต่ำ คนมีทั้งที่สูงและที่ต่ำ
สนตะพายการสนตะพายที่จมูกวัวควาย  เพื่อชักจูงไปได้สะดวก ยอมให้ชักจูง

 

2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต

เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ก้นหม้อไม่ทันดำการหุงข้าวกว่าก้นหม้อจะติดเขม่าดำกินเวลานาน เลิกกันง่าย
ชุบมือเปิบการกินข้าวด้วยมือ  ก่อนจะกิน อาหารจะเอา มือลงชุบน้ำ เพื่อล้างมือให้สะอาด และไม่ให้ข้าว ติดมือ คนที่ไม่ช่วยทำพอถึงเวลา มารับประทาน คนที่ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ลงทุน ลงแรง
นุ่งเจียมห่มเจียมการแต่งกาย แต่งตัวพอสมกับฐานะ
จุดไต้ตำตอเวลาพลบค่ำจะจุดไต้เป็นเครื่องตามไฟ พูดหรือทำสิ่งใดกับเจ้าของเรื่อง โดยผู้นั้น ไม่รู้ตัว
บ้านเมืองมีขื่อมีแปเรือนต้องมีขื่อสำหรับยึดหัวเสาเรือนตามขวาง  ส่วนแปเป็นไม้ยึดหัวเสาตามยาว บ้านเมืองมีกฎหมายคุ้มครอง
ติเรือทั้งโกลนการทำเรือสมัยโบราณ จะเหลาซุงทั้งต้นให้ เป็นรูปร่างก่อน เรียกว่า โกลนตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ

 

3. ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม

เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา  การเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ไกลปืนเที่ยงในรัชกาลที่ 5 เริ่มยิงปืนใหญ่เวลา 12.00 นาฬิกาในพระนคร ให้ได้รู้กันว่าเป็นเวลาเที่ยงคนที่อยู่ไกลออกไป คนบ้านนอก
ทำนาบนหลังคนอาชีพการทำนาการแสวงหาผลประโยชน์ ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
ฝังรก  ฝังรากการทำขวัญทารกที่เกิดได้สามวัน  เอารกกับ มะพร้าวตั้งถิ่นฐานประจำ
คนตายขายคนเป็นการจัดงานศพการจัดงานศพใหญ่โตทั้ง ๆ ที่ลูกหลานยากจน  ต้องไปกู้เงินมาทำศพ หลังงานศพ ต้องใช้หนี้ ได้รับ ความลำบาก
ไม่ดูตาม้าตาเรือการเล่นหมากรุกไม่พิจารณาให้รอบคอบ
ความรู้ท่วมหัว  เอาตัวไม่รอดการศึกษามีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
เจ้าถ้อยหมอความโวหารของนักกฎหมาย  หรือหมอความ(ทนายความ)ผู้ที่ใช้โวหารพลิกแพลงเช่นเดียวกับผู้ที่เป็น หมอความ(ทนายความ)
นอนหลับทับสิทธิ์การเมืองการปกครองไม่ไปใช้สิทธิ์ที่ตนเองมีอยู่เมื่อถึงคราวที่จะใช้
สู้จนเย็บตาการชนไก่  ไก่ถูกแทงจนหน้าตาฉีกก็เย็บ แล้วให้สู้อีกสู้จนถึงที่สุด สู้อย่างไม่ย่อท้อ สู้ไม่มีถอย

 

 

 

4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ

เช่น ทางศาสนาและความเชื่อ  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

กรวดน้ำคว่ำขันเวลาไปทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศ ส่วนกุศลตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
ผีซ้ำด้ำพลอยการนับถือผีบรรพบุรุษถูกซ้ำเติมเมื่อพลาดพลั้งลงหรือ เมื่อคราวเคราะห์ร้าย
ปิดทองหลังพระทำเนียมการปิดทองคำเปลว ที่พระพุทธรูปทำความดีแต่ไม่ได้รับการ ยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ขนทรายเข้าวัดการทำบุญก่อพระเจดีย์ทราย ที่วัดการหาประโยชน์ให้ส่วนรวม
บุญทำกรรมแต่งการทำบุญ สร้างกรรมบุญหรือบาปที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุให้รูปร่าง หน้าตาหรือวิถีชีวิตของคนเราในชาตินี้ สวยงาม ดี ชั่ว

 

5. ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ

เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

ประสมโรงการตั้งคณะละครโดยเอาตัวละครจากที่ต่าง ๆ มารวมกันเป็นโรงพลอยเข้าร่วมเป็นพวกด้วย
ชักใยการเล่นหุ่นและหนังตะลุงบงการอยู่เบื้องหลัง
นอกจอการเล่นหนังใหญ่ดีแต่เก่งอยู่ข้างนอก
คลุกคลีตีโมงการเล่นดนตรีปี่พาทย์คลุกคลีพัวพันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
โจ๋งครึ่มสำเนียงการตีตะโพนการกระทำสิ่งใดอย่างเปิดเผย

 

6. ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์

ดังตัวอย่าง

สำนวน

ที่มา

ความหมาย

งอมพระรามเรื่อง รามเกียรติ์ พระรามต้องผจญกับความทุกข์ยาก ลำบากต่าง ๆ นานา มากมายมีความทุกข์ลำบากเต็มที่
ชักแม่น้ำทั้งห้าเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ชูชกกล่าวขอสองกุมาร ต่อพระเวสสันดรพูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณ เพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
เนื้อถ้อยกระทงความการใช้ภาษาเนื้อความที่แยกแยะออก เป็นข้อ ๆ  อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
 ที่เท่าแมวดิ้นตายนิทานเรื่องศรีธนญชัย  ที่ขอพระราชทานที่เท่า แมวดิ้นตาย โดยเอาแมวมาผูกและ ใช้ไม้ตีแมวให้วิ่ง ไปมาจนแมวตาย  ทำให้ได้ที่ดินจำนวนมากมีที่ดินที่เนื้อที่น้อยเพียง ตัวแมว ดิ้นตาย
ปล่อยม้าอุปการเรื่องรามเกียรติ์ พระรามทำพิธีปล่อยม้าอุปการ  แล้วให้ หนุมานตามไป  ผู้ใดบังอาจจับม้าขี่ ก็จะถูกปราบการกระทำที่ใช้คนออกไปเที่ยว พาลหาเรื่องหรือทำให้เกิดเรื่อง  ขึ้นเพื่อ ประโยชน์ตนเอง
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองวรรณคดีเรื่องอิเหนา ท้าว กะหมังกุหนิง ยกทัพมาประชิดเมืองดาหาเพื่อชิงนางบุษบา  อิเหนาก็มาช่วยปราบศึกและเมื่อได้พบ นางบุษบา ก็ลุ่มหลงออกอุบายแต่งทัพปลอม เป็นทัพกะหมังกุหนิงเข้าเผาเมือง แล้วปลอมเป็นจรกาพา นางบุษบา ไปซ่อนไว้ในถ้ำตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง

 


จะเห็นได้ว่าที่มาของสำนวนไทยนั้นมาจาก 6 ประเภทด้วยกัน หวังว่าน่าจะพอแยกที่มาได้เมื่อไปเห็นสำนวนไทยอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่ผมยกตัวอย่างมาให้

หากสงสัยหรืออยากได้ตัวอย่างเพิ่มเติมก็คอมเมนต์ด้านล่างนี้ได้เลย หรืออยากค้นหาสำนวนไทยอื่น ๆ ก็สามารถไปค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ สํานวนไทย และความหมาย รวมสำนวนไทยใกล้ตัว สำนวนไทย ก-ฮ

 


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับสํานวนไทย

สำนวนไทย พร้อมความหมายน่ารู้ และคติเตือนใจสำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพยนั้นคล้ายกัน แต่สำนวนไทย จะเป็นเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย ต้องตีความ ทำความเข้าใจอีกที
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
 แสดงความคิดเห็น