คำไวพจน์ที่พบบ่อย
หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงประสบพบเจอปัญหาสับสนกับคำในภาษาไทยที่มีมากมายเหลือเกิน ทั้งที่บางคำก็เป็นคำที่มีความหมายถึงสิ่งเดียวกันแท้ ๆ เมื่อพูดถึงคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่วิธีการเขียนและอ่านต่างกัน ในภาษาไทยเราจะเรียกว่า “คำไวพจน์” ซึ่งก็เคยได้นำเสนอเกี่ยวกับคำไวพจน์ไปในบทความก่อนหน้าบ้างแล้ว แต่อาจไม่ได้ครอบคลุมหรือครบทุกคำวันนี้เราจึงได้กลับมาเพิ่มเติมสำหรับคำที่คิดว่าหลาย ๆ คนจะต้องพบเจอจนทำให้เกิดความงงงวย คำที่นำมานี้ล้วนปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แล้วจะมีคำใดบ้างไปดูกันเลย
คำไวพจน์ (การหลากคำ) เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยอีกพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น 2 นัย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำอธิบายว่า “คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า” (พจนานุกรม 2542 หน้า 1091)
ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ
คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง
คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน
คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน
รวม 15 คำไวพจน์ที่พบบ่อย
1. คำไวพจน์แม่น้ำ
ชลาสินธุ์, จทึง, ฉทึง, ชทึง, ชรทึง, สทิง, สทึง, สรทึง, สินธู, สินธุ, สินธุ์
2. คำไวพจน์แสง
ทีป, ทีปะ, กร, กระแสง, นิภา, บริราช, รุจิ, รุจี, ภาส, ภาสวร, ภาสุระ, ประภา, มรีจิ, รังสิ, รังสี, ร่ายรัง, วิชชุ, วิชชุดา, วิชชุตา, วิภาส, ศุภร-, อังศุ, อัจจิ, อัจจิมา, อาภา, โอภาส
3. คำไวพจน์เมฆ
ขี้เมฆ, ปัชชุน, ปโยธร, พยับเมฆ, พลาหก, วลาหก, วาริท, วาริธร, อัมพุท, เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี
4. คำไวพจน์ดาว
ชุติ, ดารกะ, ดารา, นักษัตร, ผกาย, มฆะ, มฆา, มาฆะ, มหาอุจ, มูล , มูละ, มูลา, ฤกษ์, ศนิ, สิธยะ, อัสสนี, อัศวินี,
5. คำไวพจน์ฝน
พรรษ, วรรษ, พลาหก, พิรุณ, วัส, วัสสะ, วุฐิ, หยาด, หยาดน้ำฟ้า, เผลียง
6. คำไวพจน์ควัน
ธุมา, ธุม, ธุมชาล, ธุมเกตุ, อัคนิพ่าห์, อัคนิวาหะ,
7. คำไวพจน์เต่า
กระ, กัศยป, จริว, จะละเม็ด, จิตรจุล
8. คำไวพจน์ควาย
กระบือ, กาสร, มหิงส์, มหิษ, ลุลาย
9. คำไวพจน์บ้าน
คาม, บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ, บ้านพัก, บ้านเรือน, ภูม
10. คำไวพจน์เมืองหลวง
ราชธานี, นคร
11. คำไวพจน์พญานาค
นาค, นาคราช, นาคินทร์, นาเคนทร์, นาเคศ, นาเคศวร, ภุชคะ, ภุชงค์, ภุชงคมะ, โภคิน, โภคี, อุรคะ, อุรเคนทร์
12. คำไวพจน์เงินตรา
ปรัก, หิรัญ, กษาปณ์
13. คำไวพจน์ทอง
กนก, กัมพู, กาญจน-, กาญจนา, จามีกร, จารุ, ชมพูนท, ชมพูนุท, ชาตรูป, มาศ, ริน, สิงคี, สุพรรณ, สุวรรณ, หิรัณย์, อุไร, เหม, โสณ-, ไร,
14. คำไวพจน์เกิด
กำเนิด, ชนม-, ชนม์, ชาต-, ชาตะ, ถือกำเนิด, ประภพ, ประสูติ, ประสูติ, ประสูติ-,สูติ, สูติ-, สูนะ, อุบัติ, อุบัติ-, เสวยพระชาติ,
15. คำไวพจน์รัก
รักใคร่, นิยม, ปฏิพัทธ์, พิสมัย, พิศวาส, วิมลัก, อานก, อานิก,ฮัก, มัก, เปรม, เสน่หา, สวาสดิ์
การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยโดยเฉพาะคำไวพจน์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ นวนิยาย เพลง กลอน และอื่น ๆ อีกมากมายที่จำเป็นต้องอาศัยความลื่นไหลของภาษาเพื่อให้เกิดความไพเราะ เหมาะสมกับโครงเรื่อง หรือบริบทของงานเขียนนั้น ๆ และในฐานะคนอ่านเองก็จะได้ทราบความหมายของคำมากขึ้นเพื่อรับสาร หรืออรรถรสในการอ่านได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลน่าสนใจ
คำไวพจน์ คืออะไร?
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ คล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ"