คำสนธิ
เรามาทำความรู้จักคำสนธิกัน
คำสนธิคืออะไร
คำสนธิในภาษาไทย หมายถึง คำที่มาจากภาษาบาลี – สันสกฤตมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
สมาสชน สนธิเชื่อม
ลักษณะเฉพาะของคำสนธิ
- สระสนธิคือ การกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย
พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ = มหรรณพ
นาค+อินทร์ = นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์
พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส
ธนู+อาคม = ธันวาคม - พยัญชนะสนธิเป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน
มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน
นิสฺ + ภย = นิรภัย - นฤคหิตสนธิ ได้แก่ การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิต หรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิตกับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย = สมุทัย
สํ + อาคม = สมาคม
สํ + ขาร = สังขาร
สํ + คม = สังคม
สํ + หาร = สังหาร
สํ + วร = สังวร
ตัวอย่างคำสนธิ 25 คำ
# | คำสนธิ | คำพื้น |
---|---|---|
1 | กตัญชลี | กต + อัญชลี |
2 | กรกฎาคม | |
3 | กรกฎาคม | |
4 | กาญจนามัย | |
5 | กุศโลบาย | |
6 | คมนาคม | |
7 | จุลินทรีย์ | |
8 | นโยบาย | |
9 | บดินทร์ | |
10 | พลานามัย | |
11 | พุทโธวาท | |
12 | พุทโธวาท | พุทธ + โอวาท |
13 | รังสิโยภาส | รังสี + โอภาส |
14 | ราชานุสรณ์ | |
15 | ราโชวาท | |
16 | วโรดม | |
17 | สมุทัย | สํ + ยุทัย |
18 | สมุทัย | สํ + อุทัย |
19 | สังสันทน์ | สํ + สนฺทน |
20 | สามัคยาจารย์ | |
21 | สินธวานนท์ | |
22 | สุริโยทัย | |
23 | สุโขทัย | |
24 | อนามัย | |
25 | อัคโยภาส | อัคคี + โอภาส |