คำภาษาอังกฤษในภาษาไทย

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงคำศัพท์ที่ไทยเราได้ยืมมาจากภาษาอังกฤษมาดูกันว่ามีคำไหนและหลักการอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

ปัจจุบันประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม เทคโนโลยีหรือภาษาเองก็ไม่น้อย เมื่อภาษาอังกฤษ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด   มีประเทศต่าง ๆ   ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย   ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก   คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น   คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย   ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้โดยการ ทับศัพท์  ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป  ใช้คำไทยแปล  ใช้คำสันสกฤตแปล  ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทย  และเปลี่ยนความหมาย ในวันนี้เราจะมาพูดถึงคำศัพท์ที่ไทยเราได้ยืมมาจากภาษาอังกฤษมาดูกันว่ามีคำไหนและหลักการอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

 

ยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทย

วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ

  1. การแปลศัพท์การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์ หมายถึง  การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก   หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม   ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน (ปราณี  กุลละวณิชย์ และอื่น ๆ, 2535, หน้า 67)   การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป   ดังตัวอย่างเช่น
คำภาษาอังกฤษคำภาษาไทย
tea spoonช้อนชา
table spoonช้อนโต๊ะ
electricityไฟฟ้า
electric fanพัดลม
airplaneเครื่องบิน
typewriterเครื่องพิมพ์ดีด
war shipเรือรบ
blackboardกระดานดำ
black marketตลาดมืด
short storyเรื่องสั้น
middle-manคนกลาง
dry cleaningซักแห้ง
horse powerแรงม้า
honeymoonน้ำผึ้งพระจันทร์
loan wordคำยืม
handbookหนังสือคู่มือ
blacklistบัญชีดำ

 

  1. การบัญญัติศัพท์การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ  โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ  หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ   ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น  ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง  คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่   เพื่อใช้สื่อสาร  โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย   ดังตัวอย่าง  เช่น
คำภาษาอังกฤษศัพท์บัญญัติ
telegraphโทรเลข
telephoneโทรศัพท์
telescopeโทรทรรศน์
televisionโทรทัศน์
teletypeโทรพิมพ์
telecommunicationโทรคมนาคม
ecologyนิเวศวิทยา
pedologyปฐพีวิทยา
reformปฏิรูป
globalizationโลกาภิวัตน์
federal stateสหพันธรัฐ

 

  1. การทับศัพท์ การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง   มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียง  และถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษ  โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย   และปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ   คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย  คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า  คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ  คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป    มีตัวอย่างดัง เช่น
คำภาษาอังกฤษคำทับศัพท์
graphกราฟ
captainกัปตัน
clinicคลินิก
quotaโควตา
chimpanzeeชิมแปนซี
draftดราฟต์
dinosaurไดโนเสาร์
transistorทรานซิสเตอร์
technologyเทคโนโลยี
nuclearนิวเคลียร์
bungalowบังกะโล
plasterปลาสเตอร์
proteinโปรตีน
physicsฟิสิกส์
cockก๊อก
gauzeกอซ
copyก๊อบปี้
golfกอล์ฟ
caratกะรัต
captainกัปตัน
gasก๊าซ, แก๊ส
cardการ์ด
cartoonการ์ตูน
guitarกีตาร์
cookกุ๊ก
gameเกม

 

  เห็นแล้วใช่ไหมครับว่าคำศัพท์ที่เราใช้พูดใช้เขียนกันในชีวิตประจำวันนั้นมีหลายคำเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤจนบางทีเราคิดว่าคำเหล่านั้นเป็นคำของภาษาไทยเสียอีก ดังนั้นเวลาจะเขียนหรือจะพูดที่เป็นทางการให้ดูให้ละเอียดก่อนนะครับเพราะบางคำได้มีการบัญญัติเป็นภาษาไทยแล้วหากใช้ทับศัพท์อาจกลายเป็นภาษาวัยรุ่นไปนะครับ