คำกริยา

ทุก ๆ วันเราล้วนพบเจอกับคำศัพท์มากมายหลากหลายประเภทจนบางทีแยกไม่ออกว่าคำเหล่านั้นเป็นคำประเภทไหนและเรามักจะได้ยินกันมากคำหนึ่งก็คือคำว่า "คำกริยา" แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคำกริยานั้นหมายถึงอะไรใช้อย่างไร วันนี้เราจะมาพูดถึงคำกริยาให้ได้เข้าใจกันอย่างถ่องแท้ว่าคำกริยานั้นเป็นอย่างไร

ทุก ๆ วันเราล้วนพบเจอกับคำศัพท์มากมายหลากหลายประเภทจนบางทีแยกไม่ออกว่าคำเหล่านั้นเป็นคำประเภทไหนและเรามักจะได้ยินกันมากคำหนึ่งก็คือคำว่า "คำกริยา" แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคำกริยานั้นหมายถึงอะไรใช้อย่างไร วันนี้เราจะมาพูดถึงคำกริยาให้ได้เข้าใจกันอย่างถ่องแท้ว่าคำกริยานั้นเป็นอย่างไร

 

คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ  

หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้

1.ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น 2.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น 3.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น 4.ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น 5.ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น  

คำกริยา แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

  1. สกรรมกริยา
  2. อกรรมกริยา
  3. วิกตรรถกริยา
  4. กริยาอนุเคราะห์

 

  1. สกรรมกริยา คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น

   แม่ค้าขายผลไม้

   น้องตัดกระดาษ

   ฉันเห็นงูเห่า

   พ่อซื้อของเล่นมาให้น้อง

   ฉัน กิน ข้าว

   เขา เห็น นก

  1. อกรรมกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความหมายสมบูรณ์ ชัดเจนในตัวเอง เช่น

   ครูยืน

   น้องนั่งบนเก้าอี้

   ฝนตกหนัก

   เด็กๆหัวเราะ

   คุณลุงกำลังนอน

   เขานั่ง เขายืนอยู่

  1. วิกตรรถกริยา คือคำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ คำที่มารับนั้นไม่ใช่กรรมแต่เป็นส่วนเติมเต็มหรือมาช่วยขยายความหมายให้สมบูรณ์ คำกริยาพวกนี้ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน ดุจ เช่น

   ผม เป็น นักเรียน

   ลูกคนนี้ คล้าย พ่อ

   เขาคือ ครูของฉันเอง

   รองเท้า 2 คู่นี้เหมือนกัน

   ชายของฉันเป็นตำรวจ

   เธอคือนักแสดงที่ยิ่งใหญ่

   ลูกดุจแก้วตาของพ่อแม่

   แมวคล้ายเสือ

  1. กริยาอนุเคราะห์ หรือ กริยาช่วย เป็นคำที่เติมหน้าคำกริยาหลักในประโยคเพื่อช่วยขยายความหมายของคำกริยาสำคัญ เป็นกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่ จง กำลัง ได้ แล้ว ต้อง อย่า จง โปรด ช่วย ควร คงจะ อาจจะ จะ ย่อม คง ยัง ถูก เถอะ เทอญ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

   นายแดง จะไป โรงเรียน

   เขา ได้รับ คำชม

   เธอ รีบ ไปเถอะ เขาไปแล้ว

   โปรดฟังทางนี้

   เธออาจจะถูกตำหนิ

   ลูกควรเตรียมตัวให้พร้อม

   เขาคงจะมา

   จงแก้ไขงานให้เรียบร้อย

  ข้อสังเกต กริยาคำว่า ถูก ตามปกติจะใช้กับกริยาที่มีความหมายไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกดุ ถูกตำหนิ ถ้าความหมายในทางดีอาจใช้คำว่า ได้รับ เช่น ได้รับคำชมเชย ได้รับเชิญ เป็นต้น   นอกจากนี้ยังมี กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม (กริยาสภาวมาลา) เป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น

เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เป็นกรรมของประโยค)

กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)

นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)


เมื่ออ่านจบแล้วคงพอทราบแล้วใช่ไหมว่าคำกริยานั้นเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปใช้อย่างไรให้ถูกต้อง จำง่าย ๆ ก็คือคำกริยานั้นป็นคำที่บอกถึงการกระทำนั้นเอง


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำในภาษาไทย

พจนานุกรมไทยแปลไทย หาความหมายของคำภาษาไทย พร้อมคำอ่านพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลคำศัพท์ ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย มีหมวดหมู่

 หมวดหมู่ ภาษาไทย
 แท็ก คำกริยา
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
จำนวนผู้ให้คะแนน: 1   คะแนนเฉลี่ย: 5.0
 แสดงความคิดเห็น