การใช้คะ ค่ะ นะคะ นะค่ะ

ก่อนอื่น หลายคนคงสงสัยว่า คำว่า คะ ค่ะ นะคะ นะค่ะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่ บางคนเขียน "ค๊ะ" ใส่ไม้ตรีก็มี ซึ่งใครที่สงสัยเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปดูหลักภาษาไทยพื้นฐานสมัยประถมกันก่อนคะ เอ้ยยยย ค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง "อักษรสูง-อักษรต่ำ", "คำเป็น-คำตาย" และการผันวรรณยุกต์วันนี้เราจะมาแยกใช้ให้ออกกัน มาดูกันเลย

ก่อนอื่น หลายคนคงสงสัยว่า คำว่า คะ ค่ะ นะคะ นะค่ะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่

บางคนเขียน "ค๊ะ" ใส่ไม้ตรีก็มี ซึ่งใครที่สงสัยเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปดูหลักภาษาไทยพื้นฐานสมัยประถมกันก่อนคะ เอ้ยยยย ค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง "อักษรสูง-อักษรต่ำ", "คำเป็น-คำตาย" และการผันวรรณยุกต์

วันนี้เราจะมาแยกใช้ให้ออกกัน มาดูกันเลย

 

การออกเสียง

ปกติแล้ว ที่เราผันวรรณยุกต์ 5 เสียงกันจนชิน อย่าง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า หรือ ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า เพราะตัว "ก" และ "ป" ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นอักษรกลาง คำเป็น เราเลยผันได้ 5 เสียงเต็ม ๆ

แต่สำหรับ "ค" นั้น ตามหลักภาษาจัดให้เป็น "อักษรต่ำ" และถ้ามาผสมสระอะ เป็นคำว่า "คะ" จะถือเป็น "คำตาย" เพราะเป็นคำที่มีสระเสียงสั้น

"ค" นั้นเป็น "อักษรต่ำ" ผสมสระอะ ถือเป็น "คำตาย" เพราะเป็นคำที่มีสระเสียงสั้น

เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับว่า คำว่า "คะ" เป็นอักษรต่ำด้วย และเป็นคำตายด้วย การผันวรรณยุกต์จึงผันได้เพียงแค่ 2 เสียงเท่านั้น คือ "ค่ะ" (เสียงเอก) กับ "คะ" (เสียงตรี)

ดังนั้น ถ้าเห็นที่ไหนเขียน "ค๊ะ" หรือ "นะค๊ะ" เติมไม้ตรีละก็ อันนี้ผิดแน่นอนค่ะ เพราะอักษรต่ำอย่าง "ค" จะผันด้วยไม้ตรีไม่ได้เชียว เขียนได้แค่ "คะ" กับ "ค่ะ" เท่านั้น

แล้ว "คะ", "ค่ะ" ใช้ต่างกันอย่างไรล่ะ ?

ถ้าให้ออกเสียงพูด ทุกคนคงพูดถูกอยู่แล้วล่ะ ว่าประโยคไหนควรจะใช้ "คะ" หรือ "ค่ะ" แต่ถ้าให้เขียน เชื่อว่าคนเกินครึ่งต้องสับสนกันบ้างแน่ ๆ เพราะฉะนั้น มาดูหลักการจำง่าย ๆ เลย นั่นคือ

- "คะ" ใช้กับประโยคที่ต้องการแสดงเสียงสูง อาจเป็นประโยคคำถามหรือเรียกด้วยความสุภาพ เช่น ไปไหนกันคะ ทางนี้ใช่ไหมคะ ทานได้ไหมคะ พี่คะมาทางนี้หน่อย เข้าใจไหมคะ ฯลฯ

- "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ทางนี้ค่ะ ไม่ชอบค่ะ ขอทางหน่อยค่ะ เชิญค่ะ รับทราบค่ะ เห็นด้วยค่ะ

- นะคะ ใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน แต่จะดูสุภาพและเป็นทางการกว่า เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ ไม่เข้าใจก็บอกนะคะ ไปแล้วนะคะ

- นะค่ะ ไม่มีจ้า  


เห็นตัวอย่างการใช้คำ "คะ" "ค่ะ" "นะคะ" แล้วก็คงพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมครับ ต่อไปนี้เวลาส่งอีเมล แชต เล่นไลน์กับเพื่อน ก็ฝึกใช้คำเหล่านี้ให้ถูกต้องด้วย ไหน ๆ


ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับคำในภาษาไทย

พจนานุกรมไทยแปลไทย หาความหมายของคำภาษาไทย พร้อมคำอ่านพจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลคำศัพท์ ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย มีหมวดหมู่

 หมวดหมู่ ภาษาไทย
ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า
 แสดงความคิดเห็น