คำสุภาพที่ควรรู้ คู่กับคำราชาศัพท์
วันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องคำสุภาพกับคำราชาศัพท์ที่ควรรู้
คำสุภาพที่ควรรู้
คำสุภาพที่ควรรู้ มีดังต่อไปนี้
คำสามัญ | คำสุภาพ |
---|---|
เจ็ดโยชน์ | สองพันแปดร้อยเส้น |
เจ็ดอย่าง | เจ็ดประการ |
เถาตูดหมูตูดหมา | เถากระพับโหม |
เถาย่านาง | เถาวัลย์เขียว |
เถาหมามุ่ย | เถามุ่ย |
เถาหัวลิง | เถาศีรษะวานร |
เมีย | ภรรยา ภริยา |
เห็ดโคน | เห็นปลวก |
เห็นควรด้วย | เห็นสมควร |
แตงโม | ผลอุลิด |
แมว | วิฬาร วิฬาร์ |
โทรทัศน์ช่องห้าสี | โทรทัศน์สีช่องห้า |
โลงผี | หีบศพ |
ไส้เดือน | รากดิน |
กล้วยไข่ | กล้วยเปลือกบาง |
กล้วยกุ | กล้วยสั้น |
กล้วยบวชชี | นารีจำศีล |
กองดิน | มูลดิน |
กะปิ | เยื่อเคย |
ขนมเทียน | ขนมบัวสาว |
ขนมใส่ไส้ | ขนมสอดไส้ |
ขนมขี้หนู | ขนมทราย |
ขนมจีน | ขนมเส้น |
ขนมตาล | ขนมทองฟู |
ขี้เกลื้อน | โรคเกลื้อน |
ขี้เรื้อน | โรคเรื้อน |
ขี้กลาก | โรคกลาก |
ขี้ครั่ง | มูลครั่ง |
ขี้ควาย | มูลควาย |
ขี้ช้าง | มูลช้าง |
ขี้ดิน | มูลดิน |
ขี้ตืด | ตระหนี่ |
ขี้นก | มูลนก |
ขี้บุหรี่ | เถ้าบุหรี่ |
ขี้ผึ้ง | สีผึ้ง |
ขี้วัว | มูลวัว |
ขี้สัตว์ | มูลสัตว์ |
ขึงตาข่ายดักสัตว์ | วางข่าย |
คนป่วย | คนไข้ คนเจ็บ |
คลองเจ็ดแยก | คลองเจ็ดแถว |
ควาย | กระบือ |
ควายขี้ | กระบือถ่ายมูล |
จับไข้ | เป็นไข้ |
ช้าง ๒ ตัว | ช้าง 2 เชือก ช้าง 2 ช้าง |
ช้างแม่แปรก ช้างพังที่เป็นหัวหน้าของโขลง | ช้างแม่หนัก |
ช้างขี้ ช้างถ่ายมูล | |
ช้างตัวเมีย | พัง |
ช้างตัวผู้ | พลาย |
ดอกขี้เหล็ก | ดอกเหล็ก |
ดอกซ่อนชู้ | ดอกซ่อนกลิ่น |
ดอกนมแมว | ดอกถันวิฬาร์ |
ดอกผักตบ | ดอกสามหาว |
ดอกผักบุ้ง | ดอกทอดยอด |
ดอกมะลิ | ดอกมัลลิกา |
ดอกยี่หุบ | ดอกมณฑาขาว |
ดอกลั่นทม | ลั่นทม |
ดอกสลิด | ดอกขจร |
ดอกอีนูน | ดอกนางนูน |
ตกปลา | วางเบ็ด |
ต้นเถานมช้าง | ต้นเถาถันหัตถินี |
ต้นจันทร์แดง | ต้นรัตนจันทร์ |
ต้นตำแย | ต้นอเนกคุณ |
ต้นทองกวาว | ต้นปาริชาติ |
ต้นทองหลาง | ต้นปาริฉัตร |
ต้นพุงดอ | ต้นหนามรอบข้อ |
ต้นอีเกร็ง | ต้นเหงือกปลาหมอ |
ตากแดด | ผึ่งแดด |
ตีน เท้า | |
ตีอวน | วางอวน |
ตึกแปด | อาคารแปด |
ถั่วงอก | ถั่วเพาะ |
ถั่วดำต้มหวาน | จรกาลงสรง |
ทางเจ็ดแยก | ทางเจ็ดตำบล |
ที่หก | ครบหก |
ที่ห้า | ครบห้า |
นกขี้ | นกถ่าย |
นกอีลุ้ม | นางลุ้ม |
บางชีหน ( ชื่อตำบล ) | บางชีโพน |
บางอีร้า | บางนางร้า |
บุตรคนหัวปี ( เจ้านาย ) | บุตรคนโต |
ปลาไหล | ปลายาว |
ปลาช่อน | ปลาหาง |
ปลาร้า | ปลามัจฉะ |
ปลาลิ้นหมา | ปลาลิ้นสุนัข |
ปลาสลิด | ปลาใบไม้ |
ปลิง | ชัลลุกา |
ผักกะเฉด | ผักรู้นอน |
ผักตบ | ผักสามหาว |
ผักบุ้ง | ผักทอดยอด |
ผักปลาบ | ผักไห่ |
ผักปอด | ผักปัปผาสะ |
ผักอีลิ้น | ผักนางลิ้น |
ผัว | สามี |
ฝีดาษ | ไข้ทรพิษ |
พริกขี้หนู | พริกเม็ดเล็ก |
ฟักทอง | ฟักเหลือง |
มะเขือยาว | มะเขืองาช้าง |
ม้า ๒ ตัว | ม้า ๒ ม้า |
ฤาษีแปดตน | ฤาษีแปดรูป |
ลิง | วานร |
ลูกไม้ | ผลไม้ |
ลูกขี้กา | ผลมูลกา |
ลูกตะลิงปลิง | ผลมูลละมั่ง |
ลูกอีนูน | ผลนางนูน |
วัว | โค |
สองบาท | แปดสลึง |
สองสลึง | ห้าสิบสตางค์ |
สัตว์ขี้ | สัตว์ถ่ายมูล |
สัตว์ออกไข่ | วางไข่ |
สัตว์ออกลูก | ตกลูก |
สากกระเบือ | ไม้ตีพริก |
สี่หุน | สี่ครั้ง |
หมอตำแย | ผดุงครรภ์ |
หมา | สุนัข |
หมู | สุกร |
หอยอีรม | หอยนางรม |
หัวปลี | ปลีกล้วย |
หัวสิ่งที่มีชีวิต | ศีรษะ |
หิน | ศิลา |
ออกลูก | คลอดลูก |
อีเก้ง | เก้ง นางเก้ง |
อีเลิ้ง | นางเลิ้ง |
อีเห็น | นางเห็น |
อีแร้ง | แร้ง นกแร้ง |
อีกา | กา นกกา |
คำว่า " ใส่ " ที่ใช้เป็นคำสุภาพได้และใช้เป็นคำสุภาพไม่ได้
- คำว่า " ใส่ " ใช้ในคำกราบบังคมทูลได้เฉพาะของที่ไม่มีตัวตน คือ ใส่ความ ใส่โทษ เอาใจใส่ ใส่ใจรักใคร่ ใส่จริต และอื่น ๆ
- ส่วนของที่มีตัวตนใช้คำว่า " ใส่ " ไม่ได้ทั้งหมด เช่น
" ใส่เสื้อ ใส่กางเกง " ก็ว่า " สวมเสื้อ สวมกางเกง " หรือ " ทรงฉลองพระองค์ , ทรงพระสนับเพลา "
" ใส่หมวก " ก็ว่า " สวมหมวก " หรือพระเจ้าแผ่นดินก็ว่า " ทรงพระมาลา " ส่วนเจ้านายใช้ว่า " ทรงพระตุ้มปี่ "
" ใส่ดุม " ก็ว่า " รัดดุม "
" ใส่กำไร " ก็ว่า " สวมกำไล "
" ใส่ปิ่น " ก็ว่า " ปักปิ่น "
" ใส่สร้อย ใส่จี้ " ก็ว่า " ผูกสร้อย ผูกจี้ "
" ใส่โซ่ ใส่ตรวน ใส่ขื่อ ใส่คา " ก็ว่า " จำโซ่ จำตรวน จำขื่อ จำคา"
" ใส่คุก " ก็ว่า " จำคุก ส่งจำ ขังคุก เข้าคุก "
" ใส่ตะราง " ก็ว่า " ขังตะราง "
" ใส่เล้า " ก็ว่า " ขังเล้า "
" ใส่กรง " ก็ว่า " ขังกรง หรือไว้ในกรง "
" ใส่หม้อ ใส่ไห ใส่ขวด "ก็ว่า " กรอกหม้อ กรอกไห กรอกขวด "
" ใส่คลัง " ก็ว่า " ขึ้นคลัง ส่งคลัง เข้าคลัง หรือเก็บในคลัง "
ถ้าพูดถึง " ของใส่หีบ ใส่ตู้ ใส่ถุง "ก็ว่า " ของในหีบ ในตู้ ในถุง " ถ้าพูดถึงกริยาก็ว่า" เข้าหีบ เข้าตู้ เข้าถุง "
" ใส่ยุ้ง ใส่ฉาง " ก็ว่า " ขึ้นยุ้ง ขึ้นฉาง "
" ใส่เรือ ใส่รถ " ถ้าเป็นสินค้าหรือของมากก็ว่า " บรรทุกเรือ บรรทุกรถ " ถ้าเป็นของน้อยก็ว่า " ไว้ในเรือ ไว้ในรถ "
" ใส่ช้าง ใส่เกวียน ใส่ต่าง" ถ้ามาก ก็ว่า" บรรทุกช้าง บรรทุกเกวียน บรรทุกต่าง " ถ้าน้อยก็ว่า " ขึ้นช้าง ขึ้นเกวียน ขึ้นต่าง "
" ใส่กระบุง ตะกร้า ตะแกรง " ก็ว่า " ไว้ในกระบุง ตะกร้า ตะแกรง "
" ใส่กุญแจ ใส่กลอน " ก็ว่า " ลั่นกุญแจ ลั่นกลอน "
" ตักน้ำใส่ตุ่ม ใส่ถัง " ก็ว่า " ขังตุ่ม ขังถัง "
" ใส่หมุด " คำนี้ ถ้าเป็นหมุดแผง ก็ว่า " สอดหมุด " ถ้าเป็นหมุดตรึงหรือหมุดขัดสิ่งของใด ๆ ก็ว่า " ตรึงหมุด ขัดหมุด "
" ใส่ยา " ก็ว่า " ทายา ปิดยา พอกยา "
" บ้วนใส่กระโถน " ก็ว่า " บ้วนลงกระโถน "
มีบางคำที่ฟังดูเคอะเขิน เช่น การจะกราบบังคมทูลพระกรุณาถึงสิ่งที่สกปรกหรือลามกอนาจาร เช่น กราบบังคมทูลถวายรายงานอาการไข้ เมื่อจะกล่าวถึงการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ มักใช้ว่า " ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณาคนไข้ได้ปัสสาวะ ๕ ครั้ง อุจจาระ ๒ ครั้ง " ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชบันทึกมาเป็นการล้อ ๆ ในรายงานอาการไข้ว่าเมื่อไม่ควรกราบบังคมทูลพระกรุณา แล้วบอกมาทำไม " ดังนี้
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้โปรดให้ใช้ราชาศัพท์บางอย่าง เช่น เงิน ๒ บาท ให้กราบบังคมทูลว่า ๒ บาทไม่โปรดให้ใช้แปดสลึงหรือกี่ตำลึง ท่านว่าทำให้ย้อนไปนึกถึงความหยาบโลน แต่นี้เป็นเพียงพระราชอัธยาศัยภายในเท่านั้น
คำสุภาพมีให้ดูพอเป็นตัวอย่าง หากจะหาคำราชาศัพท์ยังมีอีกมากมายหลายคำ แยกตามหมวดหมู่คำราชาศัพท์ ทั้งประเภทและเรียงตามตัวอักษร ไปดูได้ที่ลิงก์นี้ หรือจะดูแบบที่แยกตามกลุ่มผู้ใช้
ไปค้นหารายคำได้ที่ ค้นหาคําราชาศัพท์