ภาษาไทย
คำอ่าน
คำที่อ่านควบกล้ำไม่แท้
ดังที่ทราบกันดีว่าในภาษาไทยจะมีคำควบกล้ำสองลักษณะ คือ คำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับหลายคนว่าแล้วคำไหนต้องอ่านอย่างไร ต้องออกเสียงควบกล้ำด้วยหรือไม่
วันนี้เราได้หาคำตอบมาไว้ให้แล้ว โดยเป็นตัวอย่างคำที่มีตัวควบกล้ำแต่ไม่ต้องออกเสียงตัวควบกล้ำ หรือที่เราเรียกว่าคำควบไม่แท้ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าคำควบไม่แท้คืออะไร
คำควบกล้ำไม่แท้
คำควบกล้ำไม่แท้ คือ คำที่พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร จะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็นเสียงอื่นไป
1. คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า
คือเหล่าพยัญชนะ จ ซ ศ ส
ได้แก่คำว่า
- จริง
ยกเว้นคำว่า แจร, แจรก, แจรง ที่อ่านออกเสียงควบกล้ำ จร - ไซร้, ซระ, เซรา, เซราะ, โซรม
- ศรัทธา, ศรี, ศีรษะ, เศรษฐี, ปราศรัย, เศร้าโศก, อาศรม
- สระ, สรง, ประเสริฐ, กำสรด, กำสรวล, เสร็จ, สรรเสริญ, สร้าง, สร่าง, เสริม, สร้อย, แสร้ง, สรวง
2. คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ
ได้แก่คำว่า
- ต้นไทร, แทรก, ทรง, พุทรา, อินทรีย์, นกอินทรี, ปลาอินทรี, ทราบ, ทราม, ทราย, เทริด, ทรวง, ทรวดทรง, ทรุดโทรม, ทรงศักดิ์, ฉะเชิงเทรา, ทรัพย์, มัทรี, นนทรี
ยกเว้นคำว่า นิทรา อ่านว่า นิด - ทรา
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นไม่มากก็น้อยในเรื่องการอ่านคำควบกล้ำไม่แท้ หากในอนาคตพบเจอ หรือใช้คำเหล่านี้จะได้ออกเสียงให้ถูกต้อง