ภาษาไทย คำไทยที่มักเขียนผิด

"แซ่บ" กับ "แซบ" คำไหนที่ถูกต้อง

เป็นคำถามยอดนิยมของช่วงนี้กันเลยทีเดียวสำหรับ คำว่า "แซ่บ" หรือ "แซบ" ที่คำไหนจะเป็นคำที่ถูกต้อง

 

‘แซ่บ | แซบ’ คำไหนนะที่ถูกต้อง?

 

คำที่ถูกต้องคือ แซ่บ ✅

คำที่ผิดคือ แซบ ❌

 

แซ่บ ✅

คำว่า "แซ่บ" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายไว้ว่า "(ถิ่น-อีสาน) ว. อร่อย" เป็นภาษาถิ่นอีสาน ที่ออกจะขัดหูคนอีสานมากทีเดียว อย่างแถวบ้านผมเองก็ออกเสียงทั้ง แซบ แซ่บ ปะปนกันไป

การออกเสียงของ "แซ่บ" แม้จะมีวรรณยุกต์รูปเอกแต่จะผันเสียงเป็นวรรณยุกต์เสียงโท ตามเหตุผลนี้

  • "ซ." เป็นอักษรต่ำ
  • "แซ่บ" เป็นคำตาย สะกดด้วยแม่กบ
  • "แ-ะ" เป็นสระเสียงสั้น

และด้วยเหตุผลด้านบน หากคำไหนมีองค์ประกอบเป็น อักษรต่ำ + คำตาย + สระเสียงสั้น จะไม่มีการผันเสียงวรรณยุกต์รูปสามัญเลย จึงทำให้ "แซบ" ผิดหลักการผันเสียงวรรณยุกต์นั่นเอง

 

แซบ ❌

เคยถูกบัญญัติไว้แต่ถูกแทนที่ด้วยคำว่า "แซ่บ" ไปแล้ว จึงถือเป็นคำที่ผิดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (แต่ในนามคนอีสานโดยกำเนิดอยากใช้คำนี้มากกว่าเพราะให้ความรู้สึกถึงความอร่อยขั้นสูงสุดได้)

ตัวอย่างการใช้คำว่า "แซ่บ" ในภาษากลาง

  • อาหารรสแซ่บ
  • ต้มยำชามนี้แซ่บจริง ๆ เลย

 

ตัวอย่างการใช้คำว่า "แซบ" ในภาษาอีสาน

  • แนวกินมื่อนี่แซบหลาย
  • ต้มกบแซบบักคัก

ในนามคนอีสาน ผมก็ยังอัดใจอยู่ดีที่ต้องใช้คำว่าแซ่บ ทั้งที่คนอีสานจริง ๆ เราจะออกเสียงว่าแซบ เพื่อบ่งบอกความอร่อย

 

อ้างอิง