กริยา 3 ช่อง

หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)

ไปเริ่มดูหลักการอ่านออกเสียงกริยา 3 ช่องที่เติม ed กันเลย

 

หลักในการอ่านคำกริยาปกติที่เติม -ed มี 3 ข้อ ดังนี้

1. ถ้ากริยาลงท้ายเสียงด้วย /t/ ถึ เมื่อเติม -ed ท้ายคำแล้ว ให้อ่านเป็น "ทิด" หรือ "เท็ด" เช่น
  wanted ว้อนเท็ด ต้องการ
  deleted ดีเลีทเท็ด ลบล้าง
  acted แอ็คเท็ด แสดง
  และถ้าคำกริยาลงท้ายด้วยเสียง /d/ ดึ เมื่อเติม -ed ท้ายคำแล้วให้ออกเสียงเป็น "ดิด" หรือ "เด็ด" เช่น
  needed นีดเด็ด ต้องการ
  handed แฮนเด็ด ส่ง
  faded เฟดเด็ด เลือนราง
2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง /f/, /k/,/p/,/s/,/sh/, /ch/ และ /x/ เมื่อเติม -ed แล้ว อ่านออกเสียงเป็น "ถึ" เช่น
  laughed ลาฟถึ หัวเราะ
  picked พิคถึ เก็บ
  chopped ช็อพถึ ตัด,สับ,หั่น
  decreased ดีครีสถึ ลดลง
  crashed แครชถึ ชน,ปะทะ
  hatched แฮทชถึ กก,ฟักไข่
  relaxed รีแล็กซถึ ผ่อนคลาย
3. คำกริยาที่มีเสียงท้ายนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เมื่อเติม -ed แล้วให้อ่านออกเสียงเป็น "ดึ" เช่น
  bloomed บลูมดึ เบ่งบาน
  stabbed สแต็บดึ แทง
  stared สแตร์ดึ จ้องมอง
  smiled สไมล์ดึ ยิ้ม
  signed ไซน์ดึ เซ็นชื่อ
 

 

ข้อควรสังเกตุ บางครั้งเราจะได้ยินการออกเสียงคำที่เติม ed ในการพูดบางประโยค แต่สงสัยว่าทำไมถึงไม่ออกเสียงตามกฎด้านบน ให้เข้าใจไว้ว่ามีเรื่องคำคุณศัพท์ที่คำศัพท์นั้นพ้องรูปกับกริยา 3 ช่องเลยทำให้ออกเสียงต่างกัน