ภาษาไทย

ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ

ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ

ในการสื่อสารของมนุษย์ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสื่อสารนั้นก็คือมารยาทและความเหมาะสมที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนก็ต้องดูความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาไทย

วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงดับภาษาที่เป็นทางการว่าควรพูดอย่างไร ควรใช้คำในรูปแบบไหน สถานการณ์ใดจึงจะเหมาะสม แล้ววันนี้เราจะได้รู้กัน

 

ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คืออะไร?

ภาษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น

การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ ส่วนภาษาระดับทางการนั้นจะใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน

ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด

 

โอกาสและสถานที่ในการใช้ภาษาทางการ

  • การอภิปรายหรือการประชุม
  • รายงานวิชาการ
  • ประกาศทางการ
  • จดหมายราชการ
  • จดหมายธุรกิจ

 

ลักษณะของภาษาที่ใช้

ภาษาเป็นทางการ ถ้อยคำตรงไปตรงมา มีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิชาการ

ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความลดหลั่นตามระดับภาษา

ภาษาที่ใช้ในระดับทางการ

  • คำสรรพนามที่ใช้แทนตนเอง (สรรพนามบุรุษที่ ๑) มักใช้ กระผม ผม ดิฉัน ข้าพเจ้า
  • คำสรรพนามที่ใช้แทนผู้รับสาร (สรรพนามบุรุษที่ ๒) มักจะใช้ ท่าน ท่านทั้งหลาย

 

ส่วนภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง ผู้ส่งสารจะใช้สรรพนาม ผม ฉัน ดิฉัน กัน เรา หนู ฯลฯ หรืออาจใช้คำนามแทน เช่น นิด ครู หมอ แม่ พ่อ พี่ ป้า ฯลฯ และคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์หลาย ๆ คำ เราจะไม่ใช้ในภาษาทางการ เช่น หมู(สุกร) หมา(สุนัข) ตาย(มรณะ,เสียชีวิต) กิน(รับประทาน) เปรี้ยวจี๊ด ดำปี๋


รู้เป็นเบื้องต้นแล้ว เดี๋ยวบทความหน้าจะพาลงรายละเอียดเกี่ยวกับภาษาทางการกันอีกทีครับ