ภาษาไทย คำไวพจน์

คำไวพจน์ พร้อมความหมายน่ารู้

ในภาษาไทยมีคำศัพท์หลากหลายคำที่ถึงแม้จะมีการเขียนและการออกเสียงที่แตกต่างกัน แต่ก็มีหลายต่อหลายคำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างนี้อาจขึ้นอยู่กับระดับของภาษาหรือบริบทที่ใช้คำเหล่านั้น โดยเราจะเรียกคำเหล่านี้ว่า "คำไวพจน์" และสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท บทความนี้จะนำท่านไปรู้จักกับคำไวพจน์ที่พบเจอในชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับคำเหล่านี้มากยิ่งขึ้น

คำไวพจน์ คืออะไร?

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ คล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้อง"

 

คำไวพจน์ คำพ้อง หรือ การหลากคำ เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยจำพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น 2 แบบ

1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำอธิบายว่า
คำไวพจน์ คือ "คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า" (พจนานุกรม 2542 หน้า 1091)
2. ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า
คำไวพจน์ หมายถึง "คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง"

 

ประเภทของคำไวพจน์

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำ ๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

1. คำพ้องรูป

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้
ตัวอย่าง
คำว่า "เพลา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ ได้แก่

- เพลา : แกนสำหรับสอดดุมเกวียน
- เพ-ลา : กาล, เวลา, คราว

2. คำพ้องเสียง

คำพ้องเสียง คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน
*ตามนิยามคำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
ตัวอย่าง

- คำว่า "อิฐ" อ่านว่า อิด หมายถึง ดินเผาสำหรับก่อสร้าง
- คำว่า "อิด" อ่านว่า อิด หมายถึง เหนื่อยใจ, อ่อนใจ

3. คำพ้องความ

คำพ้องความ คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน
*ตามนิยามคำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ
ตัวอย่าง
คำว่า "พระอาทิตย์" มีหลายคำที่มีความหมายสื่อถึงพระอาทิตย์ เช่น

- ตะวัน
- สุริยา

 

คำไวพจน์ มาจากอะไร?

คำไวพจน์ อ่านว่า ไว-พด
คำไวพจน์ มาจาก ภาษาบาลีว่า “เววจน” (เว-วะ-จะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วิ + วจน

 

หมวดหมู่ "คำไวพจน์" พร้อมความหมายที่น่ารู้

คำไวพจน์ ประเภทพ้องความหมาย เป็นประเภทที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันที่มักปรากฏในรูปแบบวรรณกรรม บทกลอน หรืองานเขียนต่าง ๆ และเพื่อให้เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งชัดเจน เรามาทำการเรียนรู้คำไวพจน์ไปด้วยกันในบทความนี้ โดยจะยกตัวอย่างคำไวพจน์ที่พบเห็นบ่อยมาเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

 

คําไวพจน์ ดอกไม้

  • บุปผชาติ
  • บุปผา
  • ผกามาศ
  • มาลี
  • โกสุม
  • บุหงา
  • สุคันธชาติ

คําไวพจน์ น้ำ

  • คงคา
  • ชลธาร
  • ชลธี
  • ชลาลัย
  • ชลาศัย
  • ชโลทร
  • ธารา

คําไวพจน์ ป่า

  • ดง
  • พง
  • พงพนา
  • พงไพร
  • พนัส
  • พนา
  • ชัฏ

คําไวพจน์ นก

  • ทวิช
  • บุหรง
  • สกุณ
  • สกุณี
  • วิหค
  • สกุณา
  • ปักษี
  • ทิชากร
  • ปักษิณ
  • ทวิชาชาติ
  • ปักษา

คําไวพจน์ ช้าง

  • หัสดี
  • กุญชร
  • คช
  • กรี
  • ดำริ
  • คชินทร์
  • คชาธาร
  • หัตถี
  • คเชนทร์
  • หัสดินทร์
  • กรินทร์
  • ไอยรา
  • สาร
  • วารณ
  • คชา

คําไวพจน์ ผู้หญิง

  • อรไท
  • แก้วตา
  • ดวงสมร
  • นงคราญ
  • นงพะงา
  • บังอร
  • ร้อยชั่ง
  • สตรี
  • สายสมร
  • อนงค์
  • อิสตรี
  • กัญญา
  • กันยา
  • กัลยาณี
  • กานดา
  • ดรุณี
  • นงเยาว์
  • นงลักษณ์
  • นารี
  • มารศรี
  • ยุพเยาว์
  • ยพุเรศ
  • ยุพดี
  • ยุพา
  • ยุพิน
  • เยาวเรศ
  • เยาวลักษณ์
  • วนิดา
  • สมร
  • สุดา
  • อิตถี
  • เพาโพท
  • พธู
  • สัตรี
  • พนิดา
  • นงราม
  • ยุวดี

คําไวพจน์ ผู้ชาย

  • เกล้ากระผม
  • ท้าว
  • เกล้ากระหม่อม
  • ทิด
  • พ่อหนุ่ม
  • ภราดร
  • ภราดร
  • ภราดา
  • ภราตร-
  • ภราตฤ-
  • เชษฐา
  • นายหัว
  • ภาดร
  • ภาดา
  • เถ้าแก่
  • บา
  • ภาตระ
  • เทพบุตร
  • ภาตา
  • เยาวพาน
  • บุรุษ
  • ภาตา
  • ภาตุ
  • เรียม
  • ประสก
  • ภาติกะ
  • ปั่ว
  • ภาติยะ
  • มัชฌิมบุรุษ
  • กนิษฐภาดา
  • มาณพ
  • กระผม
  • กระหม่อม
  • กะกัง
  • วีรบุรุษ
  • พระเอก
  • สมิงมิ่งชาย
  • คนสุก
  • สุดหล่อ
  • คุณชาย
  • พระรอง
  • หนุ่มน้อย
  • พระฤๅสาย
  • หลวง
  • พระหน่อ
  • อนุชา
  • พระหน่อเนื้อ
  • อา
  • ต้น
  • พ่อ
  • อ้าย
  • ตัวพระ
  • พ่อเล้า
  • ตี๋
  • พ่อพลาย

 

คําไวพจน์ ท้องฟ้า

  • อัมพร
  • ทิฆัมพร
  • เวหาศ
  • คคนางค์
  • โพยม
  • เวหา
  • นภาลัย

คําไวพจน์ ภูเขา

  • บรรพต
  • สิงขร
  • พนม
  • ไศล
  • ภู
  • ศิงขร
  • ภูผา
  • ศิขริน
  • คีรี

คําไวพจน์ พระจันทร์, คําไวพจน์ ดวงจันทร์

  • เดือน
  • ศศิ
  • ศศิธร
  • บุหลัน
  • โสม
  • นิศากร
  • แข
  • กัษษากร
  • นิศาบดี
  • รัชนีกร
  • ศิวเศขร

คําไวพจน์ พระอาทิตย์, คําไวพจน์ ดวงอาทิตย์

  • ทิพากร
  • ทิวากร
  • ทินกร
  • ภาสกร
  • รวิ
  • รวี
  • รพิ
  • ระพี
  • ไถง
  • ตะวัน
  • อาภากร
  • อังศุมาลี
  • สุริยะ
  • สุริยา
  • สุริยัน
  • สุริยน
  • สุริยง
  • ภาณุ
  • ภาณุมาศ
  • อุษณรศมัย
  • ทยุมณี
  • อหัสกร
  • พรมัน
  • ประภากร

คําไวพจน์ ม้า

  • พาชี
  • สินธพ
  • อาชาไนย
  • ไหย
  • อัศว
  • แสะ
  • ดุรงค์
  • มโนมัย
  • อาชา
  • อัศวะ

คําไวพจน์ แผ่นดิน

  • หล้า
  • เมธินี
  • ภูมิ
  • ภพ
  • พสุธา
  • ธาษตรี
  • ด้าว
  • โลกธาตุ
  • ภูวดล
  • พิภพ
  • พสุธาดล
  • ปัถพี
  • ปฐวี
  • ปฐพี
  • ธราดล
  • ธรณี
  • ภูตลา
  • พสุนทรา
  • มหิ
  • พสุมดี

คําไวพจน์ ไฟ

  • อัคคี
  • อัคนี
  • เดช
  • เพลิง
  • ปราพก

คําไวพจน์ ปลา

  • มัจฉา
  • มัสยา
  • มัจฉาชาติ
  • มิต
  • ชลจร
  • วารีชาติ
  • อัมพุชา
  • มีน
  • มีนา
  • ปุถุโลม

คําไวพจน์ ต้นไม้

  • พฤกษ์
  • รุกข์
  • ตรุ
  • เฌอ
  • ทุม

คําไวพจน์ เมือง

  • บุรี
  • ธานินทร์
  • ราชธานี
  • ธานี
  • นคร
  • นครินทร์
  • นคเรศ
  • สถานิย
  • ประเทศ
  • บุรินทร์
  • พารา
  • กรุง
  • นครา

คําไวพจน์ ดอกบัว

  • อุบล
  • บงกช
  • นิลุบล
  • นิโลตบล
  • ปทุม
  • สัตตบรรณ
  • ปัทมา
  • บุษกร
  • สัตตบงกช
  • จงกล
  • บุณฑริก
  • ปทุมา
  • อุทุมพร
  • สาโรช

คําไวพจน์ ลม

  • วาโย
  • มารุต
  • พระพาย

คําไวพจน์ เสือ

  • พยัคฆา
  • ศารทูล
  • พาฬ
  • พยัคฆ์
  • ขาล
  • สมิง

คําไวพจน์ แม่น้ำ

  • คงคา
  • นที
  • สินธุ์
  • สาคร
  • สมุทร
  • ชลาลัย
  • อุทก
  • ชโลทร
  • อาโป
  • หรรณพ
  • ชลธาร
  • ชลาศัย
  • ชลธี
  • ธาร
  • ธารา
  • สลิล
  • อรรณพ
  • สินธุ
  • รัตนากร
  • สาคเรศ
  • อุทกธารา
  • อุทก
  • อัมพุ

คําไวพจน์ ลิง

  • วอก
  • วานร
  • กระบี่
  • พานร
  • กบิล
  • กบินทร์
  • วานรินทร์
  • พานรินทร์

คําไวพจน์ พระเจ้าแผ่นดิน

  • บดินทร์
  • นโรดม
  • นฤเบศน์
  • เจ้าหล้า
  • ภูมินทร์
  • ภูบาล
  • ภูบดินทร์
  • ธรารักษ์
  • นรินทร์
  • นฤบดี
  • จอมราช
  • ท่านไท้ธรณี
  • ขัตติยวงศ์
  • ธรณีศวร
  • ราเชนทร์
  • ท้าวธรณิศ
  • ไท้ธาษตรี
  • ปิ่นเกล้าธาษตรี

คําไวพจน์ สวย

  • งาม
  • ประไพ
  • ลอย
  • ลาวัณย์
  • วิลาวัณย์
  • วิไล
  • สวย
  • สวยงาม
  • อำไพ
  • โสภณ
  • โสภา
  • ไฉไล

คําไวพจน์ นางฟ้า

  • อัจฉรา
  • อัปสร
  • รัมภา
  • เทพธิดา
  • เทวี

คําไวพจน์ สวรรค์

  • สุขาวดี
  • สรวง
  • เทวาลัย
  • เทวโลก
  • สุราลัย
  • ศิวโลก
  • สุคติ

คําไวพจน์ เทวดา

  • เทพ
  • เทว
  • เทวัญ
  • อมร
  • นิรชรา
  • ปรวาณ
  • สุรารักษ์

คําไวพจน์ งาม

  • พะงา
  • โสภา
  • โสภณ
  • เสาวภาคย์
  • บวร
  • รุจิเรข
  • ไฉไล

คําไวพจน์ รัก

  • ชอบ
  • ชอบพอ
  • ชอบใจ
  • ชื่นชอบ
  • นิยม
  • ปฏิพัทธ์
  • ปลื้ม
  • พิสมัย
  • พึงพอใจ
  • รัก
  • รักใคร่
  • วิมลัก
  • หลงใหล
  • อานก
  • อานิก
  • ฮัก
  • เปรม
  • โปรดปราน

 

 

ประโยชน์ของคำไวพจน์?

คำไวพจน์มีประโยชน์มากในแง่ของวรรณศิลป์ วรรณกรรม คือ ถ้าเรารู้จักนำคำไวพจน์มาใช้แทนคำทั่ว ๆ ไปและใช้ให้เหมาะกับบริบทเหมาะกับประเภทงานเขียน คำไวพจน์ก็จะช่วยให้งานเขียนของเราดูมีเสน่ห์ สละสลวยมากขึ้น โดยเฉพาะการแต่งกลอนที่คำไวพจน์จะช่วยให้แต่ละบทมีความคล้องจองกันโดยที่ความหมายที่จะสื่อยังคงตามบริบทเดิม


คำไวพจน์ ถือเป็นจำพวกหนึ่งของคำในภาษาไทยที่ทำให้ภาษาไทยมีความสละสลวยมาก พอไปประกอบกับการแต่งบทกลอนแล้วทำให้มีความลื่นไหลและคล้องจองกันแต่ยังคงความหมายที่จะสื่อสารไว้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เอาไว้บทความหน้าเรามาดูคำไวพจน์และวิธีใช้ในการแต่งกลอนกัน

ค้นหา "คำไวพจน์" หมวดหมู่ "คำไวพจน์"