กริยา 3 ช่อง จำได้แม่น! รวมกฎและข้อยกเว้น
อาจจะมีหลาย ๆ คนยังไม่ทราบกันว่า กริยา 3 ช่องนั้นคืออะไร ก็สามารถตอบแบบตรง ๆ ได้เลยว่ามันเป็นชุดคำกริยาภาษาอังกฤษที่มีอยู่ 3 ช่อง 3 รูปแบบ เขาเลยเรียกมันว่ากริยาสามช่อง ซึ่งเป็นคำเรียกในภาษาไทยนะ ส่วนภาษาอังกฤษจะเป็นหลักการใช้คำกริยาตาม Tense เท่านั้นเอง
แล้วทำไปถึงมี 3 ช่อง นั่นก็ เพราะโครงสร้างของแต่ละ Tense ในภาษาอังกฤษนั้นจะไม่เหมือนกัน
เรามาเรียนรู้ในเรื่องของกริยา 3 ช่องกัน
เอ๊ะ อาจจะฟังดูแล้วยังงง ๆ เราแนะนำว่าให้ลองไปอ่านดูและทำความเข้าใจเรื่อง Tense เพิ่มเติมแล้วจะเข้าใจทะลุปรุโปร่ง
ค้นหาคำศัพท์กริยา 3 ช่อง
กดที่ลิงก์นี้เลย เพื่อ ค้นหากริยา 3 ช่อง แบบรายคำ เจอทุกคำ ถ้าไม่เจอแจ้งเราได้ที่เพจ Facebook เลย เดี๋ยวหามาเติมให้
กริยา 3 ช่อง คืออะไร
กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาในภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่อง บ่งบอกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงเวลาได้อีกด้วย คำที่ใช้แสดงถึงอาการ เหตุการณ์ และช่วงเวลา คือ คำพูดที่แสดงการกระทำของ ประธานในประโยค หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยา หากประโยคขาดคำกริยา ความหมายอาจจะผิดเพี้ยน และไม่สามารถทราบเหตุการณ์ อดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต ได้เลย เพราะเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ในทางกลับกัน เราสามารถรู้ว่าเป็นประโยคเหตุการณ์ อดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต โดยดูจากกริยา ได้อีกด้วย
คำกริยา ในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- สหกรรมกริยา (Transitive Verb) คือ คำกริยาที่ต้องมีตัวกรรม ถ้าเกิดไม่มีคำอื่นเข้ามา ความหมายจะไม่สมบูรณ์ เช่น The girl is playing a computer game at home. หมายความว่า เด็กผู้หญิงเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่บ้าน คำว่า “playing” เป็นคำกริยา บอกให้ทราบว่าขณะนี้ กำลังเล่นเกมอยู่ ส่วนคำว่า “game computer” เป็นตัวกรรม หรือตัวทำหน้าที่รองรับคำกริยาให้สมบูรณ์มากขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า Playing อย่างเดียว จะไม่รู้ว่า กำลังเล่นอะไรอยู่
- อกรรมกริยา (Intransitive Verb) คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีตัวกรรม เพราะความหมายจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น The boy runs in the forest. ประโยคไม่ต้องมีตัวกรรม ก็ทำให้ประโยคสมบูรณ์ เพราะคำว่า “run” แปลว่า วิ่ง ความหมายจึงสมบูรณ์ครบถ้วนไม่ต้องมีตัวมาเติมเต็ม
- กริยาช่วย (Helping Verb หรือ Auxiliary Verb) คือ กริยาที่มีหน้าที่ช่วยกริยาด้วยกัน และยังทำให้ตัวของตัวเองมีความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หลัก ๆ คือ ในประโยคหนึ่ง ๆ จะมีคำกริยาเข้าไปประกอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของประโยคว่าจะใช้คำกริยาประเภทไหน แต่เพื่อให้เข้าใจได้ว่าประโยคหนึ่งเป็นเหตุการณ์ในช่วงเวลาใด เราจะต้องใช้หลักการของกริยา 3 ช่อง เข้ามาช่วย ดังจะอธิบายต่อไปนี้
ช่วงเวลาของกริยา 3 ช่อง
กริยา 3 ช่อง คือ คำกริยาในภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่อง บ่งบอกถึง เหตุการณ์ ในแต่ละช่วงเวลาได้อีกด้วย
- กริยาช่องที่ 1 คือ ปัจจุบัน
- กริยาช่องที่ 2 คือ อดีต
- กริยาช่องที่ 3 คือ คำกริยาที่ใช้ใน perfect tense ทุกชนิด และ passive voice.
หรือมองแบบหลัก tense จะเป็นแบบนี้
- Base Form/Infinitive/Present = ช่อง 1
- Simple Past = ช่อง 2
- Past Participle = ช่อง 3
การแบ่งประเภทกริยา 3 ช่อง
จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- Irregular Verbs (กริยาอปกติ)
- Regular Verbs (กริยาปกติ)
1. Irregular verbs (กริยาอปกติ)
เรียกง่าย ๆ คือ กริยาที่เปลี่ยนรูปไม่ใช่แค่เติม -ed ซึ่งอันนี้จะเป็นชุดกริยาหลักเลย เพราะถ้าจำได้ทั้งหมด ที่ไม่อยู่ในนี้ก็แค่เติม -ed ในช่องที่ 2 ช่องที่ 3 เท่านั้น เราแบ่งกริยา 3 ช่อง (irregular verbs) ออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้
- All 3 forms are similar - ทั้ง 3 ช่อง เหมือนกัน
- Infinitive and Simple Past are similar - ช่องที่ 1 และ 2 เหมือนกัน (ต่างกันที่ช่อง 3)
- Infinitive and past participle are similar - ช่องที่ 1 และ 3 เหมือนกัน (ต่างกันตรงช่องที่ 2)
- Simple Past and past participle are similar - ช่องที่ 2 และ 3 เหมือนกัน (ต่างจากช่องที่ 1)
- All 3 forms are different - ทั้ง 3 ช่อง ไม่เหมือนกัน
มาดูตัวอย่างของกริยา 3 ช่อง แบบต่าง ๆ กันครับ
Irregular verbs แบบที่ 1
ทั้ง 3 ช่อง เหมือนกัน
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่อง 3 |
---|---|---|
cost | cost | cost |
cut | cut | cut |
let | let | let |
put | put | put |
read | read | read |
Irregular verbs แบบที่ 2
ช่องที่ 1 และ 2 เหมือนกัน ต่างกันที่ช่อง 3
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่อง 3 |
---|---|---|
beat | beat | beaten |
Irregular verbs แบบที่ 3
ช่องที่ 1 และ 3 เหมือนกัน ต่างกันตรงช่องที่ 2
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่อง 3 |
---|---|---|
come | came | come |
run | ran | run |
become | became | become |
Irregular verbs แบบที่ 4
ช่องที่ 2 และ 3 เหมือนกัน ต่างจากช่องที่ 1
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่อง 3 |
---|---|---|
buy | bought | bought |
catch | caught | caught |
find | found | found |
hang | hung | hung |
sleep | slept | slept |
Irregular verbs แบบที่ 5
ทั้ง 3 ช่อง ไม่เหมือนกัน
ช่องที่ 1 | ช่องที่ 2 | ช่อง 3 |
---|---|---|
be | was/were | been |
blow | blew | blown |
choose | chose | chosen |
drink | drank | drunk |
eat | ate | eaten |
2. Regular verbs (กริยาปกติ)
กริยาปกติ = กริยา “ปรกติ” = กริยาผันปกติ
Regular Verbs คือ กิริยา 3 ช่อง ที่มีการเปลี่ยนรูปของคำศัพท์ โดยการเติม -ed เข้าไปข้างหลังคำศัพท์ช่องที่ 1 แล้วได้เป็นคำศัพท์ช่องที่ 2 และ 3 ทันที
หลักการผันกริยาแบบปกติ (การเติม ed)
การเติม -ed เข้าไปข้างหลังคำศัพท์ช่องที่ 1 แล้วได้เป็นคำศัพท์ช่องที่ 2 และ 3 ทันที แล้วมีหลักเกณฑ์อยู่ 5 ข้อ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ หลักการผันกริยาแบบปกติ (การเติม ed)
หลักการจำ กริยา 3 ช่อง ง่ายมาก เพียงแค่ให้นึกถึง สูตรคูณคณิตศาสตร์ก็สามารถท่องได้ เพราะหลักของ กริยา 3 ช่อง ส่วนใหญ่ออกเสียงคล้ายกัน เพียงแค่เปลี่ยนนิดหน่อย ซึ่งความหมาย คล้ายกัน ไม่ยากมากขอให้ลองศึกษาดูครับ ^_^