สํานวนสุภาษิต

ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ

หมายถึง ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง (Demand สูง Supply ต่ำ)

หมายเหตุ หน้าตรุษ คือ หน้าหนาว

พจนานุกรมไทย ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ หมายถึง:

  1. (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ

  • ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ ความหมายคืออะไร ใช้ยังไง, สํานวนสุภาษิต ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ หมายถึง ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง (Demand สูง Supply ต่ำ) หมายเหตุ หน้าตรุษ คือ หน้าหนาว อวัยวะ หน้า

 สํานวนสุภาษิตที่คล้ายกัน

กลับหน้ามือเป็นหลังมือ คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ฆ่าควายก็ต้องไม่เสียดายพริก ฆ่าควายเสียดายพริก ซื่อเหมือนแมวนอนหวด ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ตีปลาหน้าไซ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก ลูบหน้าปะจมูก ศรศิลป์ไม่กินกัน หน้าเนื้อใจเสือ

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ
 แสดงความคิดเห็น
 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ