กงกำกงเกวียน
หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง
ที่มา "กงเกวียนกำเกวียน" นั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ส่วนคำว่า "กงกำกงเกวียน" นั้นผิด เกวียน เป็นพาหนะที่แต่ก่อนคนไทยในอดีตนิยมใช้งาน กงเกวียน คือ วงรอบของล้อเกวียน ส่วน กำเกวียน คือ ซี่ล้อซึ่งตรงกลางมีดุมที่มีรู ไว้สำหรับสอดเพลาเป็นแกนยึดล้อทั้ง ๒ ข้าง เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด กำเกวียนก็หมุนตามไปทางนั้น เปรียบเหมือนกงล้อเกวียน และกำเกวียน ซึ่งเวลาหมุนจะหมุนวนซ้ำรอยเดิม
หมายเหตุ ที่ถูกคือ กงเกวียนกำเกวียน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกงกำกงเกวียน
หมายเหตุ
คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย