ค้นเจอ 31 รายการ

ออกกรรม (ญ)

หมายถึงการที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

กรรม

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

กรรม์

หมายถึงกรรม.

กรรมชา

หมายถึงผู้เกิดแต่กรรม คนที่สร้างกรรมดีไว้ เมื่อเกิดมาก็เกิดในพ่อแม่ที่ดี มีอวัยวะครบ ไม่ใบ้บ้าเสียจริต ผิดมนุษย์ มีสติปัญญาดี ถ้าสร้างกรรมไม่ดีก็เกิดมาในที่ตรงกันข้าม.

กรรมกูไง

กฎกรรม

หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.

กรรมพันธุ

หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).

กรรมทายาท

หมายถึงผู้รับผลของกรรม กรรมมี ๒ คือ กรรมดี เรียก กุศลกรรม กรรมไม่ดี เรียก อกุศลกรรม เราสร้างกรรมดีเราก็ได้รับผลดี เราสร้างกรรมชั่วเราก็ได้รับผลชั่ว พ่อแม่พี่น้องรับแทนไม่ได้.

ญัตติกรรม

หมายถึงได้แก่การทำอุโบสถ ทำปวารณา การทำอุโบสถและปวารณาจะต้องตั้งญัตติคือเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อมเพรียงกันก็ลงมือทำอุโบสถ ทำปวารณาได้ นี่เรียก ญัตติกรรม.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ