ค้นเจอ 20 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา โต

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

ขี้อ่ง

หมายถึงหยิ่ง,คนถือตัว,มาดเยอะ,หยิ่งทะนงตน

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

ไตรลักษณ์

หมายถึงลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป 3 ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน.

ปฐมกรรม

หมายถึงชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน.

วิศวกรรม

หมายถึงชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม เพชฉลูกรรม ก็ว่า.

กรรมสิทธิ์

หมายถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์, ความมีอำนาจในสิ่งของที่ตนมี เช่นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในข้าวของเงินทอง เป็นต้น.

วสี

หมายถึงผู้ชำนะตนเอง ผู้สำรวมอินทรีย์ ผู้ตัดกิเลส ผู้ชำนาญ (ป.).

กฎกระทรวง

หมายถึงข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.

หูเมือง

หมายถึงราชทูต ราชทูตถือว่าเป็นหูเมือง เพราะราชทูตไปประจำอยู่ประเทศอื่น เมื่อประเทศนั้นมีเรื่องอะไรก็ส่งข่าวมาให้ประเทศของตนทราบ เท่ากับว่ามีหูอยู่ทั่วไป.

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ