ค้นเจอ 120 รายการ

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

กะทักกะถั่น

หมายถึงลักษณะอาการของคนเร่งรีบ

กะเซอะกะเซิง

หมายถึงฟูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย

กะดิกกะดิ้น

หมายถึงอาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.

กะตากกะตาก

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงไก่ร้องเวลาตกไข่หรือเวลาตกใจดัง กะตาก กะตาก กะต้ากกะต้าก ก็ว่า.

กะซาง,กะตามซ่าง,กะส่าง

หมายถึงก็ช่าง,ไม่ใส่ใจ,ช่างเถอะ

กะเบียน

หมายถึงถาดสำหรับทำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วให้เย็นก่อนที่จะเก็บเข้าภาชนะบรรจุ

กะปอม,ขี่กะปอม,ขี้กะปอม

หมายถึงกิ้งก่า

กะบอง

หมายถึงกะไต้ ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง เรียก กะบอง กะไต้ ไต้ ขี้ไต้ ก็ว่า

กฐิน

หมายถึงผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน.

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

กบาล

หมายถึงกะโหลกศีรษะ,กระเบื้อง(ป.ส.กปาล) หัว (ข.) เช่น เขกกบาล เรียก เขกหัว.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ