ตัวกรองผลการค้นหา
กฎทบวง
หมายถึงทบวงคือหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากระทรวง หรือลดหลั่นกระทรวงลงมา ข้อบัญญัติที่เจ้าทบวงตราไว้ เพื่อบริหาร เรียก กฎทบวง.
กริยา 3 ช่อง จำได้แม่น! รวมกฎและข้อยกเว้น
"ปรากฏ" กับ "ปรากฎ" คำไหนที่ถูกต้อง
กฎวัด
หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง
กฎอัยการศึก
หมายถึงกฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข.
กฎแกวด
หมายถึงนับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา).
กฎุมพี
หมายถึงคนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).
กฎี
หมายถึงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).
กฎกระทรวง
หมายถึงข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.
กฎ (จด)
หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).
กฎกรรม
หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.
กฎบ้าน
หมายถึงระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย
กรกฎาคม
หมายถึงเดือนกรกฎาคม อีสานเรียกเดือนแปด เรียกเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ.
กฎกรม
หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.