100 พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน

พุทธสุภาษิต รวม 100 พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย มาทำการเรียนรู้กัน จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลย

รวม 100 พุทธสุภาษิตที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

  1. การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
  2. การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
  3. ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
  4. คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
  5. คนควรให้ของที่ควรให้
  6. คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
  7. คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
  8. คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
  9. คนมักทำบาปเพราะความหลง
  10. คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  11. คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น
  12. คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
    คำบาลี ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺเจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
  13. คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข
  14. คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
  15. คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
  16. คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
  17. คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็หอมไปด้วยฉันนั้น
  18. คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็เป็นคนพาลฉันนั้น
  19. คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข
  20. คนเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก
  21. คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
  22. คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
  23. คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
  24. คบคนเช่นใดเป็นมิตร เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
  25. ควรคบมิตรที่ดี
  26. ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
  27. ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
  28. ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
  29. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
  30. ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
  31. ความดี อันคนชั่วทำยาก
  32. ความดี อันคนดีทำง่าย
  33. ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ
  34. ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
  35. ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
  36. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
  37. คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
  38. จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
  39. จงเตือนตน ด้วยตนเอง
  40. จงเตือนตนด้วย ตนเอง
  41. ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
  42. ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
  43. ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
  44. ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
  45. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  46. ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
  47. ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
  48. บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
  49. บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดีเป็นความเจริญ
  50. บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
  51. บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบแต่สัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมนำไปสู่สุคติ
  52. บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
  53. บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
  54. บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
  55. ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
  56. ปราชญ์ พึงรักษาศีล
    คำบาลี สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี
  57. ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
  58. ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
  59. ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
  60. ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
  61. ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
  62. ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
  63. ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
  64. ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
  65. ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
  66. ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
  67. ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ
    คำบาลี อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส
  68. ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
  69. ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
  70. ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
  71. ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
  72. ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
  73. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
  74. ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
  75. ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
  76. ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
  77. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
  78. พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
  79. พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
  80. พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
  81. พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
  82. พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)
  83. พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
  84. ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
  85. วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
  86. ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
  87. สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
  88. สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า
  89. สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
  90. อยู่ร่วมกับคนชั่ว ย่อมมีแต่ความทุกข์
  91. อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
  92. เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
  93. เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
  94. เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น
  95. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
  96. เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
  97. โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
  98. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
  99. ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแม้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม
  100. ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน

คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับพุทธสุภาษิตทั้ง 100 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน

หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย


รายการพุทธสุภาษิตยอดนิยมอื่น ๆ

 แสดงความคิดเห็น