พุทธสุภาษิต คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภาษิดในพุทธศาสนา
สุภาษิต คือ อะไร
สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต คือ อะไร
พุทธสุภาษิต หรือ พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดี ๆ ในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม แต่ก็ยังมีสุภาษิตคำอื่นที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาด้วย เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต หรือ พุทธสุภาษิต หรือ พระพุทธพจน์
นอกจากนี้ยังมีภาษิตอื่น ๆ คือ
- ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต
- ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต หรือ สาวกภาษิต
- คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต
รวมพุทธศาสนสุภาษิต แบ่งตามหมวดหมู่
พุทธสุภาษิต
หมวดกรรม
ความดี อันคนชั่วทำยาก | ความดี อันคนดีทำง่าย |
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้ | ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น |
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี | ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว |
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว | ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว |
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ | ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดกรรม ทั้งหมด › |
หมวดการชนะ
หมวดการศึกษา
หมวดกิเลส
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย | เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้ |
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดกิเลส ทั้งหมด › |
หมวดคบหา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็หอมไปด้วยฉันนั้น | คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็เป็นคนพาลฉันนั้น |
คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น | คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น |
คบคนเช่นใดเป็นมิตร เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น | ควรคบมิตรที่ดี |
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ | ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง |
จิตจอดอยู่กับใคร ถึงไกลกัน ก็เหมือนอยู่ชิดใกล้ ใจหมางเมินใคร ถึงใกล้กัน ก็เหมือนอยู่แสนไกล | บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดีเป็นความเจริญ |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดคบหา ทั้งหมด › |
หมวดความประมาท
หมวดความเพียร
คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ | คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม |
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี | ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร |
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก | ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น |
อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ | อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต |
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดความเพียร ทั้งหมด › |
หมวดความโกรธ
หมวดความไม่ประมาท
คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาให้ท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ | คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น |
ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น | บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท |
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท | ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย |
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดความไม่ประมาท ทั้งหมด › |
หมวดจิต
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้ | คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้ |
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย | ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ |
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดจิต ทั้งหมด › |
หมวดตน- ฝึกตน
ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี | จงเตือนตนด้วย ตนเอง |
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน | ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก |
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง | ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ |
ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก | ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว |
พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน | โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดตน- ฝึกตน ทั้งหมด › |
หมวดทาน
การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ | คนควรให้ของที่ควรให้ |
คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น | คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน |
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน | ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข |
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ | ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ |
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา | ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดทาน ทั้งหมด › |
หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
หมวดธรรม
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี | ทำไม่ได้ อย่าพูด |
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ | บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี |
ปราชญ์ พึงรักษาศีล | ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ |
ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า | ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน |
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น | ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดธรรม ทั้งหมด › |
หมวดธรรมเบื้องต้น
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก | คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ |
คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข | คนเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก |
คนโกรธย่อมฆ่าได้แม้มารดาของตน | คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ |
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี | ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมนำสุขมาให้ |
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี | คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดธรรมเบื้องต้น ทั้งหมด › |
หมวดบาป-เวร
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้ | คนมักทำบาปเพราะความหลง |
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน | คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว |
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้ | บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้ |
บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ | พึงละเว้นบาปทั้งหลาย |
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร | ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดบาป-เวร ทั้งหมด › |
หมวดบุคคล
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก | คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ |
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข | คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน |
คนแข็งกระด้างก็มีเวร | คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ |
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก | ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น |
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง | บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดบุคคล ทั้งหมด › |
หมวดบุญ
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้ | บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า |
หมวดปัญญา
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ | คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น |
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา | คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา |
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ | ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย |
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก | ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ |
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้ |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดปัญญา ทั้งหมด › |
หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป
ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ | คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย |
ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง 2 เพราะกลัวต่ออนาคต | ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี |
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ | สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ |
เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งหมด › |
หมวดมิตร
หมวดศีล
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ | ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดศีล ทั้งหมด › |
หมวดสามัคคี
ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ | จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน |
พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ |
หมวดอดทน
ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง | ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข |
ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร | ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ |
ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้ |
ดู พุทธสุภาษิต หมวด หมวดอดทน ทั้งหมด › |
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ คลิ๊กที่นี่ เพื่อดูพุทธศาสนสุภาษิตหมวดอื่น ๆ ต่อ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพุทธสุภาษิต
ดาวน์โหลด PDF รวมพุทธสุภาษิตยอดนิยม
สำหรับใครที่อยากได้พุทธสุภาษิต ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย
พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย
PDF – ตัวอย่าง พุทธสุภาษิต ที่ใช้บ่อย
ดาวน์โหลด