ตัวกรองผลการค้นหา
ประพันธ์
หมายถึงก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคำเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
คำไวพจน์ ที่นิยมใช้ในการแต่งกลอน
สุภาษิตสอนหญิง - สุนทรภู่ [จริงหรือ?]
เกร็ดความรู้จากละครข้ามสีทันดร
การใช้ This – That / These – Those
ผู้ประพันธ์เพลง
หมายถึงน. ผู้แต่งทำนองเพลง, ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง, นักแต่งเพลง ก็เรียก.
กวีนิพนธ์
หมายถึงน. คำประพันธ์ที่กวีแต่ง.
ว่าเอาเอง
หมายถึงก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.
เชลง
หมายถึง[ชะเลง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข.).
แต่ง
หมายถึงก. จัดให้งาม เช่น แต่งร้าน แต่งบ้าน, ทำให้ดี เช่น แต่งต้นไม้ แต่งผม; จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต; จัดแจง เช่น แต่งเครื่องราชบรรณาการ แต่งทัพ; เรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เช่น แต่งหนังสือ แต่งโคลงกลอน, คิดทำขึ้นเอง เช่น แต่งเรื่อง; ครอง เช่น แต่งเมือง ว่า ครองเมือง.
บทประพันธ์
หมายถึงน. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
เสกสรรปั้นแต่ง
หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.
เลบง
หมายถึง[ละเบง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข. เลฺบง ว่า การเล่น).
บริพันธ์
หมายถึง[บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
นิพันธ์
หมายถึงน. นิพนธ์, เรื่องที่แต่งขึ้น. ก. ร้อยกรองถ้อยคำ, แต่งหนังสือ. (ป., ส.).
เรียงความ
หมายถึงก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.