ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เสีย, วรรณยุกต์, วรรณยุต, เสียพรหมจารี, เสียสาว, เสื่อมเสีย, ขิปสัทโท, ดี, ตก, บังวาย, เสียงดี
เสียงาน
หมายถึงก. ทำให้สิ่งหรือเรื่องที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จหรือบกพร่อง เช่น เพื่อน ๆ รับปากว่าจะมาช่วยแล้วไม่มา ทำให้เสียงานหมด.
Wordy Guru แอปเดียว รวมทุกศัพท์
คำสนธิ คืออะไร
ผู้หมั่นในการงาน จึงควรอยู่ในราชการ
คำราชาศัพท์คืออะไร มีที่มาจากไหน ใช้อย่างไร
เสียงานเสียการ
หมายถึง(สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น เขามัวแต่ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ จนเสียงานเสียการ, เสียการเสียงาน ก็ว่า.
เสียการเสียงาน
หมายถึง(สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยากจะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ ก็ว่า.
เสียหนัก
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา หมายความว่า มาก เช่น งานอย่างนี้ ทำมาเสียหนักแล้ว.
เสียยุบเสียยับ
หมายถึงก. เสียแล้วเสียอีก (มักใช้แก่เงินทอง) เช่น ไปเที่ยวงานคราวนี้เสียยุบเสียยับ.
เสียแต่,เสียที่
หมายถึงสัน. เสียตรงที่, บกพร่องตรงที่, มีตำหนิตรงที่, เช่น หน้าตาก็สวยดี เสียแต่พูดไม่เพราะ.
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย
หมายถึง(สำ) ทำงานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
เสียได้
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.
ไม่ได้ไม่เสีย
หมายถึงว. เสมอตัว, เท่าทุน.
เสียแล้ว
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.
เป็นเสียเอง
หมายถึงก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
เสีย
หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.