ค้นเจอ 1,338 รายการ

อนุตร,อนุตร-

หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).

พักตร,พักตร-,พักตร์

หมายถึง[พักตฺระ-] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).

ตรรก,ตรรก-,ตรรกะ

หมายถึง[ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).

ยันตร,ยันตร-,ยันตร์

หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).

อุตดร,อุตร,อุตร-

หมายถึง[อุดดอน, อุดตะระ-] น. อุดร. (ป., ส. อุตฺตร).

ตรรกวิทยา

หมายถึงน. ตรรกศาสตร์.

นิรันดร,นิรันตร,นิรันตร-

หมายถึง[-รันดอน, -รันตะระ-] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

ตรรกศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่, ใช้ว่า ตรรกวิทยา ก็มี. (อ. logic).

อจล,อจล-

หมายถึง[อะจะละ-] ว. ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน, เช่น อจลศรัทธา. (ป., ส.).

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ