ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา อุโบสถ, บรรพชา, โบสถ์, อนุปสัมบัน
อุปสมบท
หมายถึง[อุปะสมบด, อุบปะสมบด] ก. บวชเป็นภิกษุ. (ป. อุปสมฺปทา).
อุโบสถ
หมายถึง[อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).
บรรพชา
หมายถึง[บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชาเป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
โบสถ์
หมายถึงน. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
โค่ง
หมายถึงน. คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า เณรโค่ง.
อุปสมบัน,อุปสัมบัน
หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. (ป. อุปสมฺปนฺน).
เปกข์,-เปกข์
หมายถึงน. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).
สัทธิงวิหาริก,สัทธิวิหาริก
หมายถึงน. คำเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
วันทาสีมา
หมายถึงก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
ขอนิสัย
หมายถึงก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
ศาสนพิธี
หมายถึงน. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธีอุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
คู่สวด
หมายถึงน. พระ ๒ รูปที่ทำหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกรานกฐินเป็นต้น.