ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขนาด, กรัม, อัตตา, อันตรา, เจตภูต, กัตรา, อุตรา
ขนาด
หมายถึง[ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
อัตรา
หมายถึง[อัดตฺรา] น. ระดับที่กำหนดไว้, จำนวนที่จำกัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจำตามกำหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓).
กรัม
หมายถึง[กฺรำ] น. หน่วยมาตราชั่งนํ้าหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตราประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก. (ฝ. gramme).
เป็นอัตรา
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจเป็นอัตรา.
อยู่อัตรา
หมายถึง(โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
ตายตัว
หมายถึงก. คงที่อยู่อย่างนั้น เช่น ราคาตายตัว อัตราตายตัว.
มานะ
หมายถึงน. การวัด, การนับ, อัตราวัด. (ป., ส. มาน).
บั้นหลวง
หมายถึงน. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร.
แรงม้า
หมายถึงน. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทำงาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กำลังม้า ก็เรียก.
ตะล่อม
หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง.
ตะลอง
หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน.
แท็กซี่มิเตอร์
หมายถึงน. แท็กซี่ที่ติดตั้งมิเตอร์คำนวณค่าโดยสารเป็นระยะทางกับเวลาตามอัตราที่ทางการกำหนด.