ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สนธิ, อนุเคราะห์, อนุกรม, อนุวัต, อนุสร, อุตริ, อนุจร, อุตรา, อนุกร
อนุตร,อนุตร-
หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
"อนุญาต" "ขออนุญาต" กับ "อนุญาติ" "ขออนุญาติ" คำไหนนะที่ถูกต้อง
อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ
อนุญาต หรือ อนุญาติ เขียนแบบไหน คำไหนถูก?
อนุ
หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
อนุประโยค
หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
พักตร,พักตร-,พักตร์
หมายถึง[พักตฺระ-] (ราชา) น. หน้า, ใช้ว่า พระพักตร์. (ส. วกฺตฺร).
ตรรก,ตรรก-,ตรรกะ
หมายถึง[ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
ยันตร,ยันตร-,ยันตร์
หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).
อุตดร,อุตร,อุตร-
หมายถึง[อุดดอน, อุดตะระ-] น. อุดร. (ป., ส. อุตฺตร).
ตรรกวิทยา
หมายถึงน. ตรรกศาสตร์.
นิรันดร,นิรันตร,นิรันตร-
หมายถึง[-รันดอน, -รันตะระ-] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
อนุกาชาด
หมายถึง(โบ) น. อนุสมาชิกของสภากาชาด.
ตักกะ
หมายถึง(แบบ) น. ตรรก, ความตรึก, ความคิด. (ป. ตกฺก).
กระตรำ,-กระตรำ
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระตรก เป็น กระตรกกระตรำ.