ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หัส,หัส-, วาทกะ, นัก
หัสดนตรี
หมายถึงน. วงดนตรีสากลซึ่งบรรเลงในงานรื่นเริง.
คำไทยที่มักอ่านผิด
หัส,หัส-
หมายถึง[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).
หัสนาฏกรรม
หมายถึงน. ละครหรือเรื่องราวที่ตลกขบขัน.
หัสนิยาย
หมายถึงน. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.
สหัส,สหัส-,สหัสสะ
หมายถึง[สะหัดสะ-] ว. หนึ่งพัน คือ ๑๐ ร้อย (๑,๐๐๐). (ป.; ส. สหสฺร).
ดนตรี
หมายถึงน. เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
ดนตรีกรรม
หมายถึง(กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว.
วาทกะ
หมายถึง[วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).
คนธรรพศาสตร์
หมายถึง[คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).
วาทิต
หมายถึงน. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
วาทิน
หมายถึงน. คนเล่นดนตรี. (ดู วาที).
ร่ายรำ
หมายถึงก. เดินหรือจับระบำไปตามจังหวะดนตรีของละครรำ.