ค้นเจอ 10 รายการ

หัต

หมายถึงก. ทำลาย. (ป., ส. หต).

หัตถ,หัตถ-,หัตถ์

หมายถึง[หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).

หัตถศาสตร์

หมายถึงน. วิชาเกี่ยวกับการทำนายจากเส้นลายมือ.

สาหัตถ,สาหัตถ-,สาหัตถิก,สาหัตถิก-

หมายถึง[-ถะ-, -ถิกะ-] ว. ที่ทำด้วยมือของตนเอง. (ป.).

ไม่มีปี่มีกลอง,ไม่มีปี่มีขลุ่ย

หมายถึง(สำ) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗).

ทึ่ง

หมายถึง(ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).

ศาสน์

หมายถึง(โบ) น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. (ส.; ป. สาสน).

ราชหัตถเลขา

หมายถึง[ราดชะหัดถะเลขา] (ราชา) น. จดหมาย (ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง) ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา. (ป.).

ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ

หมายถึง(สำ; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ