ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา หัส,หัส-, หัช, ตัด, สะบัด, หัสต์, ครุ, สังหรรษ, สาหัส, สุหฤท,สุหัท, รหัส
หัด
หมายถึงก. ฝึก, ฝึกฝน, ทำให้ชำนาญ.
หมายถึงน. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงและปวดศีรษะ ออกผื่นแดงตามตัว. (อ. measles, morbilli, rubeola).
หัสต์
หมายถึง[หัด] น. หัตถ์, มือ. (ส.; ป. หตฺถ).
ครุ
หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
สังหรรษ
หมายถึง[-หัด] น. ความเต็มตื้นด้วยความยินดี, ความปีติยินดี; ความเสียวซ่าน. (ส. สํหรฺษ).
สาหัส
หมายถึง[-หัด] ว. ร้ายแรง เช่น บาดเจ็บสาหัส, รุนแรงเกินควร เช่น ถูกลงโทษอย่างสาหัส. (ป., ส.).
สุหฤท,สุหัท
หมายถึง[-หะริด, -หัด] น. เพื่อน, ผู้มีใจดี, ใช้ว่า โสหัท หรือ เสาหฤท ก็มี. (ส. สุหฺฤท; ป. สุหท).
รหัส
หมายถึง[-หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
หัส,หัส-
หมายถึง[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).
หัช
หมายถึง[หัด] ว. น่ารัก; น่ายินดี, พึงใจ. (ป. หชฺช).
หัตถ,หัตถ-,หัตถ์
หมายถึง[หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).
ออกหัด
หมายถึงก. เป็นโรคหัด.