ตัวกรองผลการค้นหา
สร,สร-,สร-
หมายถึง[สฺระ-] คำนำหน้าคำอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.
คำศัพท์ในโรงพยาบาล
สร
หมายถึง[สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
หมายถึง[สอระ-] ว. ทิพย์, แกล้วกล้า, เช่น สรศาสดา สรศักดิ์ สรสีห์. (ป., ส. สุร).
สร-
หน
หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
สรสรก
หมายถึง[สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตกพลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
สรกะ
หมายถึง[สะระกะ] น. จอก, ขัน. (ป., ส.).
สรพะ
หมายถึง[สะระพะ] ว. เสียงดัง, เอ็ดอึง. (ป.; ส. ศรว).
สรณ,สรณ-,สรณะ
หมายถึง[สะระนะ-] น. ที่พึ่ง, ที่ระลึก; ความระลึก. (ป.; ส. ศรณ).
วันพระไม่มีหนเดียว
หมายถึง(สำ) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
รู้หนเหนือหนใต้
หมายถึงก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือหนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
ทุกหัวระแหง
หมายถึงว. ทุกแห่งหน.