ค้นเจอ 5 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา วรรณกรรม, สมาส, สุนทร,สุนทร-

สุนทรพจน์

หมายถึง[สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.

วรรณกรรม

หมายถึงน. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย.

สมาส

หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).

สุนทร,สุนทร-

หมายถึง[-ทอน, -ทอนระ-, -ทอระ-] ว. งาม, ดี, ไพเราะ, เช่น วรรณคดีเป็นสิ่งสุนทร, มักใช้เข้าสมาสกับคำอื่น เช่น สุนทรพจน์ สุนทรโวหาร. (ป., ส.).

กล่าว

หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ