ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สมาส, สันทะ, วสุนธรา
สุนทร,สุนทร-
หมายถึง[-ทอน, -ทอนระ-, -ทอระ-] ว. งาม, ดี, ไพเราะ, เช่น วรรณคดีเป็นสิ่งสุนทร, มักใช้เข้าสมาสกับคำอื่น เช่น สุนทรพจน์ สุนทรโวหาร. (ป., ส.).
สุภาษิตสอนหญิง - สุนทรภู่ [จริงหรือ?]
สมาส
หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).
ขี้ถัง
หมายถึง(ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่).
กรุยกราย
หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).
กรรตุสัญญา
หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).
กระสวน
หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.
กันต์
หมายถึงก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ, เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
เสวนะ,เสวนา
หมายถึง[เสวะ-] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).
กฤดา,กฤดาการ
หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
คำพ้องเสียง
หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
ไวพจน์
หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง
ประภัสสร
หมายถึง[ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).