ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ยี่, รี่, ลี่, ศีล, สี้, หา, กี่, ชี่, จัตวา, จตุร,จตุร-, จาตุร,จาตุร-, จัตุร,จัตุร-
สี่
หมายถึงน. จำนวนสามบวกหนึ่ง; เรียกเดือนที่ ๔ ทางจันทรคติว่า เดือน ๔ ตกในราวเดือนมีนาคม.
จัตวา
หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
จัตุร,จัตุร-
หมายถึง[จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).
จตุร,จตุร-
หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
จาตุร,จาตุร-
หมายถึง[จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
จดูร,จดูร-
หมายถึง[จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
จตุสดมภ์
หมายถึงน. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
จัตุ
หมายถึง[จัดตุ] ว. สี่. (ป. จตุ; ส. จตุรฺ).
จดุร,จดุร-
หมายถึง[จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่.
จตุ,จตุ-
หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
จัตุสดมภ์
หมายถึง[จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
จาตุ,จาตุ-
หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.