ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา จาป, สร, ศิลป์, ปืน
ศร
หมายถึง[สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
จาป
หมายถึง[จาบ, จาปะ] (แบบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.).
ศรายุธ
หมายถึง[สะรายุด] น. อาวุธคือศร. (ส. ศร + อายุธ).
สร
หมายถึง[สอน] น. ศร. (ป.; ส. ศร).
ศิลป์
หมายถึง[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ปืน
หมายถึงน. อาวุธสำหรับยิงให้ลูกออกจากลำกล้องด้วยกำลังดินระเบิดหรือแรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น. (ศร หน้าไม้ เกาทัณฑ์ โบราณเรียกว่า ปืน; ปืนที่ใช้กำลังไฟ เรียกว่า ปืนไฟ).
มิศร,มิศร-,มิศรก,มิศรก-
หมายถึง[มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
ลูกศร
หมายถึงน. เครื่องหมายที่ใช้ชี้บอกทางเป็นต้น มีลักษณะคล้ายส่วนปลายของลูกศร รูปดังนี้ ; ลูกธนู, ลักษณนามว่า ดอก.
แผลงศร
หมายถึงก. ยิงลูกธนูออกไปด้วยแรงแห่งฤทธิ์.
ย้อนศร
หมายถึงก. ไปทวนเครื่องหมายลูกศร เช่น ขับรถย้อนศร.
ศรศิลป์ไม่กินกัน
หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
แปลง
หมายถึง[แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.