ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา มนุษยศาสตร์, วรรณ,วรรณ-,วรรณะ, มูลนิธิ, ภารตวิทยา, คดี, อรรถคดี
วรรณคดี
หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
วรรณคดี หมายถึงอะไร?
วรรณกรรม
ภาษาบาลี-สันกฤต
มนุษยศาสตร์
หมายถึง[มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและงานของคน มีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย + ศาสฺตฺร). (อ. humanities).
วรรณ,วรรณ-,วรรณะ
หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
มูลนิธิ
หมายถึง[มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
ภารตวิทยา
หมายถึงน. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).
คดี
หมายถึง[คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
ความรู้สึกไว
หมายถึงน. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดีควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
หัสดีลิงค์
หมายถึงน. นกในวรรณคดีมีจะงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง.
ยังมี
หมายถึงว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์.
วายุภักษ์
หมายถึงน. ชื่อนกในวรรณคดี แปลว่า นกกินลม. (ส.).
รูปโฉมโนมพรรณ
หมายถึงน. รูปร่างและผิวพรรณ เช่น นางในวรรณคดีมักมีรูปโฉมโนมพรรณงดงามยิ่ง.
สูงส่ง
หมายถึงว. ที่ยกย่องกันว่าดีเด่น เช่น วรรณคดีเรื่องนี้ยกย่องกันว่ามีค่าทางวรรณศิลป์สูงส่ง.