ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กรีธา, กะยุ, ยอ, ข่ม, โง, ยืนหยัด, ทาย, ลายไพรกลม
กรีธา
หมายถึง[กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการยกทัพ).
ความหมายของคำว่า "ออเจ้า"
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
กะยุ
หมายถึง(โบ) ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา. (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน. (พิชัยสงคราม).
ยอ
หมายถึงก. กล่าวคำเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
ข่ม
หมายถึงก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
โง
หมายถึงก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น.
ยก
หมายถึงน. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒-๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
ยืนหยัด
หมายถึงก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก.
ทาย
หมายถึง(กลอน) ก. ยก; ถือ เช่น ทายธนู ว่า ถือธนู.
นายก
หมายถึง[นา-ยก] น. ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น นายกราชบัณฑิตยสถาน นายกสมาคม นายกสโมสร. (ป., ส.).
คายก,คายก-
หมายถึง[-ยก, คายะกะ-] (แบบ) น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. (ป., ส.).
หมายถึงก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคำสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
ลายไพรกลม
หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.