ค้นเจอ 3,358 รายการ

อธิป,อธิป-

หมายถึง[อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).

ขุน

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา.

ท้าว

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.

อัยยะ

หมายถึงน. ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย. (ป.).

อินท์

หมายถึงน. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์; ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).

อินทร์

หมายถึง[อินทะ-, อินทฺระ-, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).

ไท

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่.

บริณายก

หมายถึง[บอรินายก] (แบบ) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).

ปริณายก

หมายถึง[ปะ-] น. ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. ปรินายก).

อีส

หมายถึง[อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อีศ).

กบินทร์

หมายถึง[กะ-] (แบบ) น. พญาลิง, กเบนทร์ ก็ว่า. (ป., ส. กปิ = ลิง + ส. อินฺทฺร = ผู้เป็นใหญ่).

อธิบดี

หมายถึง[อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตำแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ