ค้นเจอ 13 รายการ

บำเรอ

หมายถึงก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบำเรอ; บูชา เช่น บำเรอไฟ.

ปรนเปรอ

หมายถึง[ปฺรนเปฺรอ] ก. บำรุงบำเรอเลี้ยงดู, เลี้ยงดูด้วยการเอาอกเอาใจ.

เปรอ

หมายถึง[เปฺรอ] ก. บำเรอ. (ข. เปฺรี ว่า ใช้).

พ่อเล้า

หมายถึง(ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.

เชอ

หมายถึงก. เป็นคำใช้เข้าคู่กับคำ บำเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์. (ม. คำหลวง ชูชก), จำนำบำเรอเชอถนอม. (สรรพสิทธิ์).

ประดิทิน

หมายถึงว. ประจำวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอันบรรดาจำบำเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).

บริจารก

หมายถึง[บอริจารก] น. คนใช้, คนบำเรอ. (ป., ส. ปริจารก).

ป้อยอ

หมายถึงก. ตามใจหรือเอาใจจนเกินไป, ยกย่องเยินยอจนเกินพอดี, บำรุงบำเรอจนเกินไป.

สิงคาร

หมายถึง[-คาน] น. ศฤงคาร, สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก. (ป.; ส. ศฺฤงฺคาร).

แม่เล้า

หมายถึง(ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.

ศฤงคาร

หมายถึง[สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).

กล่อม

หมายถึง[กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ