ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา สัจธรรม, สัทธรรม, อวิโรธน์, อาชวะ, อักโกธะ, ทาน,ทาน,ทาน-, นักธรรม, อวิหิงสา, ศีล, อวิโรธนะ, บริจาค
ธัช
หมายถึง[ทัด] (แบบ) น. ธง. (ป. ธช).
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ธรรม
พุทธศาสนสุภาษิต หมวด ธรรมเบื้องต้น
ธรรม,ธรรม,ธรรม-,ธรรมะ
หมายถึง[ทำ, ทำมะ-] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
ธรรม
หมายถึงน. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.
หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.
เป็นธรรม
หมายถึงว. ถูกต้อง.
ธรรมสาร
หมายถึงน. สาระแห่งธรรม, แก่นธรรม.
บาธรรม
หมายถึงน. ผู้เชี่ยวชาญในทางธรรม, อาจารย์ทางธรรม.
ภาษาธรรม
หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
สัจธรรม
หมายถึง[สัดจะทำ] น. ความจริงแท้ เช่น บรรลุสัจธรรม เข้าถึงสัจธรรม.
อัพภูตธรรม
หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
สารธรรม
หมายถึง[สาระ-] น. ธรรมเป็นหลักฐาน, ธรรมที่มั่นคง.
ราต
หมายถึงก. ให้มาแล้ว เช่น ธรรมราต ว่า พระธรรมให้มา. (ส.).