ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา เชียรณ์, ตีระ, ชีรณัคคิ, เดียรถ์, ตีรถะ, เตียรถ์, ชิรณัคคิ, ดิฐ,ดิฐ,ดิตถ์, เดียร,เดียระ
รณ,รณ-
หมายถึง[รน, รนนะ-] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
คำไวพจน์ น้ำ | คำคล้าย น้ำ
ตี
หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.
ชิรณ,ชิรณ-,ชิรณะ
หมายถึง[ชิระนะ-] ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชำรุด. (ป. ชีรณ; ส. ชีรฺณ).
ชีรณ,ชีรณ-,ชีรณะ
หมายถึง[ชีระนะ-] ว. เก่า, แก่, ชำรุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
ตีป่า
หมายถึงก. ตีดะ, ตีไม่เลือก.
ตีกลับ
หมายถึงก. ย้อนกลับคืนผู้ส่ง (ใช้แก่หนังสือหรือจดหมาย) เช่น หนังสือถูกตีกลับ จดหมายถูกตีกลับเพราะหาผู้รับไม่ได้.
ตีท้ายน้ำ
หมายถึง(สำ) ก. เข้าทำในตอนหลังหรือในระยะหลัง.
ตีข่าว
หมายถึง(ปาก) ก. ตีพิมพ์ข่าว (ใช้แก่หนังสือพิมพ์) เช่น หนังสือพิมพ์นิยมตีข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน.
ลมตีขึ้น
หมายถึงก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
วรรณ,วรรณ-,วรรณะ
หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
ตีรวน
หมายถึงก. แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท, รวน ก็ว่า.
ตีหลายหน้า
หมายถึง(สำ) ก. ตลบตะแลง, กลับกลอก.