ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กระ, ประ, ตริ, คระ, ตรี
ตระ
หมายถึง[ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
หมายถึง[ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).
ภาตระ
หมายถึง[พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ).
ภราดรภาพ,ภราตรภาพ,ภราตฤภาพ
หมายถึง[พะราดะระพาบ, พะราดอนระพาบ, -ตฺระ-, -ตฺรึ-] น. ความเป็นฉันพี่น้องกัน.
กระ
หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
ตระกัด
หมายถึง[ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกำหนัด ในความตระกัดกรีธา. (ม. คำหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
ตระจัก
หมายถึง[ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
ตระดาษ
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
ตระบอก
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).
ตระบัน
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. กลีบซ้อน.
ตระเบ็ง
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง.
ตระแบน,ตระแบ่น
หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. ทิ้งลง, ตกลง, โผลง, เช่น ตระแบนไว้กลางดิน. (โบ) น. แผ่น. (อนันตวิภาค).