ค้นเจอ 18 รายการ

ชาน

หมายถึงน. กากอ้อยหรือกากหมากที่เคี้ยวแล้วเป็นต้น เช่น ชานอ้อย ชานหมาก.

ชาน

หมายถึงน. เรียกพื้นเรือนนอกชายคาว่า นอกชาน, พื้นที่นอกตัวเรือน ตัวเมือง หรือตัวกำแพง เป็นต้น ออกไป เช่น ชานเมือง ชานกำแพง ชานเขื่อน.

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

ชานคลอง

หมายถึง(กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลองขนานไปกับคลอง.

ชานฉัตร

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า.

ชาล,ชาล-

หมายถึง[ชาน, ชาละ-] (แบบ) น. ตาข่าย, ร่างแห; ใยแมงมุม. (ป., ส.).

ชาลา

หมายถึงน. ชานเรือน, พื้นภายนอกเรือน.

หลังฉัตร

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.

ธุมชาล

หมายถึง[ทุมะชาน] น. ควันพลุ่งขึ้น. (ป., ส. ธูมชาล).

กัลชาญ

หมายถึง[กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ. (ม. คำหลวง ทศพร).

เชิงกราน

หมายถึงน. เตาไฟปั้นด้วยดินยกตั้งได้ มีชานสำหรับวางฟืน; เรียกกระดูกตะโพกที่มีสัณฐานอย่างเชิงกรานว่า กระดูกเชิงกราน.

รูปฌาน

หมายถึง[รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ