ค้นเจอ 364 รายการ

ชาต,ชาต-,ชาตะ

หมายถึง[ชาตะ-] ก. เกิด. (ป.).

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวท-

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เพท

หมายถึงน. เวท.

อุปเวท

หมายถึง[อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).

ชา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้ปลูกเป็นรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.

ชา

หมายถึงก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบเรือชา. (สมุทรโฆษ).

ชา

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.

ชา

หมายถึง(โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและนํ้าหอมเป็นต้น.

ชา

หมายถึงก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).

ชา

หมายถึงก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ