ค้นเจอ 977 รายการ

ชั้น

หมายถึงน. ที่สำหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลำดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.

ชั้นเดียว

หมายถึงน. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่าสองชั้นเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตราจังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.

นำ

หมายถึงก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.

พา

หมายถึงก. นำไปหรือนำมา.

สามชั้น

หมายถึงน. เรียกเนื้อหมูส่วนท้องที่ชำแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อว่า หมูสามชั้น; จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับช้า คือช้ากว่าสองชั้นเท่าตัว หรือช้ากว่าชั้นเดียว ๔ เท่า เรียกเต็มว่า อัตราสามชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสามชั้น เพลงสามชั้น.

ลดชั้น

หมายถึงก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถมปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.

สองชั้น

หมายถึงน. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.

เจ็ดชั่วโคตร

หมายถึงน. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.

ฝี่

หมายถึงก. ซ้อนกันเป็นชั้น.

ลองใน

หมายถึงน. โกศชั้นใน.

ซ้อนซับ

หมายถึงก. ทับกันหลายชั้น.

เถรภูมิ

หมายถึง[เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ